บทความจากการที่อานิสงส์ ได้มีส่วนร่วมบุญในกลุ่มดังกล่าว จงขอนำข้อความบางอย่างมาบันทึกไว้
หลวงปู่แสง วัดมณีชลขัณฑ์ ตอนที่ ๒
อาจารย์ เทพย์ สาริกบุตร, บุตย์ สาริกบุตร (พ.ศ.๒๕I๒๙)
เรื่องราวเกี่ยวกับอาจารย์แสงแห่ง วัดเกาะแก้ว (มณีชลขัณฑ์) นั้น กระผมจำได้เลาๆ ความว่าดังนี้
ขณะนั้นกระผมและพี่ชายคืออาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้สร้าง
หนังสือคัมภีร์พระเวทอันเป็นตำราดีชุดหนึ่งในวงการหนังสือ เราสองพี่น้องเป็นศิษย์วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์ โดยเป็นศิษย์ของท่านพระครูสุวรรณรังษี ซึ่งท่านพระครูสุวรรณก็เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์) แห่งวัดบรมนิวาส ท่านพระครูสุวรรณมีความสนิทสนมกับท่านเจ้าคุณวัดเกาะมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี ซึ่งเป็นน้องชายของท่านเจ้าอุบาลี เพราะต้นตระกูลของเราสองพี่น้องมาจากนครจำปาศักดิ์ ที่วัดเกาะนั้นทุกปีจะมีอาคันตุกะมีชื่อพระอาจารย์สี ท่านถือบวชเป็นชีปะขาวสะพายย่ามกระทำตนแผลงๆ แต่มองดูแล้วแฝงไว้ซึ่งความขลังชอบ
กลอยู่ ท่านจะไปนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี ทุกปีมิได้ขาดเลย ท่านจะแวะมาเยี่ยมพระครูสุวรรณซึ่งเป็นอาจารย์ของกระผม เพราะท่านเป็นผู้รักใคร่ชอบพอกับอาจารย์สีของกระผมสองพี่น้องมาก ส่วนอาจารย์เทพย์ ขณะนั้นมีอายุราว ㆍ๑ - ๑๒ ขวบ แกชอบทางเวทย์มนตร์คาถาอาคม ได้ขอเรียนจากท่าน
อาจารย์สียังขอร้องให้ท่านเล่าเรื่องเกจิอาจารย์ดังๆ ให้ฟัง ท่านจึงเอ่ยถึงอาจารย์แสง ยอดเกจิอาจารย์แห่งมหานครละโว้ลพบุรี ซึ่งเก่งในวิชาอาคมไสย
ศาสตร์ทุกแขนงไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่ว่าด้านเวทมนตร์คาถา ผงมหาวิเศษ พุทธาคม คือ อิทธิเจ ปฐมัง ตรีนิสิงเห และมหาราชตลอดไปจนถึงเลขยันต์ในคัมภีร์พิชัยยุทธสงคราม
ประการสำคัญที่สุด ดังได้สดับมาว่าท่านเป็นผู้สำเร็จปรอท อันวิชา
สำเร็จนี้เป็นวิชาหนึ่งของการเล่นแร่แปรธาตุสมัยก่อน นิยมเล่นกันมากพอๆ
กับการไปหาแร่เหล็กไหล หากจะเทียบคุณวิเศษกันแล้วปรอทสำเร็จยังสูงไปกว่าเหล็กไหลอีกชั้นหนึ่ง ปรอทสำเร็จนี้กว่าจะทำได้สำเร็จแสนยากหนักหนา
ยิ่งกว่าการทำทองแดงให้เป็นทองคำเพราะตัวยาที่นำมาซัดโลหะนั้นต้องไปเสาะแสวงหากันมายากยิ่ง บางตำราท่านผูกไว้เป็นกลอนปริศนา ยกตัวอย่าง
เช่นว่า "ตันเขียวใบแฉกลูกเอ๋ยอย่าแปลกเมื่อน้อยเคยกิน" ดังนี้เป็นต้น เมื่อได้ไปหาตัวยามาไปเอาซัดลงในโลหะที่หล่อหลอม อันปรอทนั้นเมื่อกระทำสำเร็จแล้วผู้เป็นเจ้าของจะต้องมีอิทธิฤทธิ์เป็นกายสิทธิ์อยู่ยงคง
กระพัน โรคภัยไข้เจ็บไม่อาจกล้ำกรายได้ สมบูรณ์บริบูรณ์ยิ่งนัก กล่าวกันว่าผู้มีปรอทสำเร็จจะต้องเก็บและระวังรักษาไว้อย่างดีที่สุด เวลาเอาออกมาชมดูกลางแสงจันทร์วันเพ็ญต้องระวังให้ดี เพราะอาจมีมีอวิเศษเอื้อมมาหยิบฉวยเอาไปเพราะเป็นของกายสิทธิ์...
อาจารย์สีท่านเล่าว่า อาจารย์ของท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์แสง พระอาจารย์แสงท่านเป็นผู้มีศีลและมีสัจท่านพูดว่าในชีวิตจะต้องทำอะไรให้
เป็นอนุสรณ์เอาไว้ และท่านปรารภถึงพระบาลีกล่าวไว้ว่า ปฏิมาโพธิรุกขาจรูปาจชินธาตุโยจตุราสีติสุสหสุสธมมกขนุธาสุเทสิตา
ความว่าเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ห้าประการที่พุทธชนจักได้สักการะบูชา คือ พระพุทธรูป ๑ พระมหาโพธิพฤกษ์ * พระเจดีย์ พระบรมสารีริกธาตุ ๑ และพระธรรม ๘๔๐๐๐ พระ
ธรรมขันธ์ : พุทธชนทั้งหลายผู้ได้สักการบูชาจะเป็นมหามงคลแก่ชีวิต พระอาจารย์แสงท่านเลือกเอาเจดีย์ ท่านจึงลงมือสร้างด้วยตัวของท่านเอง เพื่อแสดงให้คนทั้งหลายเห็นว่าคนเรานั้นมีความตั้งใจแล้ว ทำสิ่งใดทำจริงสิ่งนั้นย่อมสำเร็จ ท่านก็ลงมือกระทำไปจนสำเร็จ
กล่าวกันว่าด้วยอำนาจปรอทสำเร็จ ท่านอาจารย์แสงสามารถเดินทางออกจากลพบุรีไปฉันเพลที่กรุงเทพฯ และท่านสามารถกลับลพบุรี วัดเกาะมณีชลชัณฑ์ แล้วก่อสร้างพระเจดีย์อันเป็นกิจวัตรประจำวันของท่านได้โดยไม่เสียสัจจะที่ตั้งใจ...
การที่พระอาจารย์แสงสร้างพระเจดีย์นี้ สร้างความประทับใจให้แก่เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์) มาก ท่านเจ้าคุณอุบาลีจึงคิดสร้างถาวรวัตถุไว้เป็นอนุสรณ์สักสิ่งหนึ่ง ดังนั้นท่านจึงเลือกสร้างพุทธรูปเมื่อท่านไปลพบุรีไปพบชัยภูมิแห่งหนึ่ง ท่านจึงได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ไว้ที่เขาพระงามองคัหนึ่งซึ่งคนทั้งหลายเรียกว่าพระงาม จัดเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของนครลพบุรี
พลตรีเยาว์ เกิดร่วมในปลายปี ๒๕๕๔ ทางคณะได้รับการติดต่อจากทายาทของ "พลตรีเยาว์ เกิดร่วม" ผู้วายชนม์ ว่าได้รับหนังสือ "เจ้าขรัวแสง แสงแห่งมณีชลขันธ์ แล้วมีความประสงค์จะนำหนังสือนี้ไปแจกในงานทำบุญร้อยวัน ของท่านพลตรีเยาว์ เพราะก่อนท่าน พลตรีเยาว์ จะเสียด้วยโรคมะเร็งนั้น ท่านและครอบครัวได้ประสบเหตุการณ์อัศจรรย์อันเกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่แสง จนทำให้ท่าน พลตรีเยาว์ เขียนบันทึกไว้ใน "หนังสือระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเยาว์ เกิดร่วม" วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ทำให้ทราบถึง"คาถา" บทหนึ่งว่า หลวงปู่แสงให้ท่องจำเป็นธรรมโอสถใช้สู้กับโรคมะเร็ง
บันทึกสุดท้ายของท่าน พลตรีเยาว์ เกิดร่วม เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของคุณ จินดามาศ เกิดร่วม (ภรรยาของท่าน พลตรีเยาว์ เกิดร่วม )ไว้ดังนี้
"พล.อ โชคชัย ได้นำพระคาถาของ "หลวงปู่แสง" มามอบให้ท่าน พลตรีเยาว์เพื่อให้สวดก่อนนอนทุกๆ คืน พระคาถาดังกล่าว คือ ระโชหะระนัง ระชังหะระติ ช่วงนั้นประมาณตีสอง ขณะที่ท่าน พลูตรีเยาว์ นอนพักรักษาที่ รพ. พระมงกุฎเกล้า ห้อง 1906 ท่านได้เห็นรูปกลมๆ คล้ายรูปนิมิตเป็นเงาดำผ่านหน้า
ท่าน ซึ่งขณะนั้นท่านยังมิไม่ได้หลับ เงาดำหยุดทางขวามือของท่านแล้วกล่าวว่า เออเองท่องผิดๆ ถูกๆ อยู่นั้นแหละ แต่เห็นความพยามของเอ็งที่มีความ
พยายามมาตั้งแต่ตัน ข้าฯ จะช่วยเอง จากนั้นก็เห็นพระ ๕ รูป เดินเข้ามาในห้อง และก็เห็นเป็นประตูเหล็กกำลังเปิด โดยมีพระรูปหนึ่งเดินเข้าไปเปิดประตู และเรียกว่าพระอาจารย์ จากนั้นก็เห็นผู้หญิงใส่ชุดสีขาวมานั่งข้างๆท่าน พลตรีเยาว์ ก็ได้ท่องพระคาถา ระโชหะระนัง ระชังหะระติ อีกครั้งและ
เมื่อท่านท่องถูกผู้หญิงที่ใส่ชุดสีขาวก็ได้พยักหน้าและยิ้มให้ เมื่อท่านท่องคาถาไม่นานภาพต่างๆ ที่ได้เห็นก็ได้หายไป จากนั้นท่านก็ร้องไห้จนภรรยาท่านมาถามว่าพ่อเป็นอะไรๆ ท่านก็บอกว่าเห็นเงาดำลูกกลมๆ คล้ายลูกแก้วนิมิต ภรรยาท่านก็ใจหายคิดไปว่าท่านเห็นยมบาลมารับหรือเปล่า ภรรยาท่านได้กล่าวแบบปลอบใจว่า พ่อไม่ต้องคิดมากนะ ท่านก็บอกเดี๋ยวฟังพ่อก่อน พ่อเห็นจริงๆ ท่านก็ได้เล่าให้ภรรยา
ท่านฟังทั้งหมดอีกครั้งว่า ท่านได้เจอเหตุการณ์อัศจรรย์อะไรบ้าง หลังจากนั้นท่านก็ได้แต่ร้องไห้ด้วยความปีติใจ จนกระทั่งคุณหมอและพยาบาลเข้ามาก็ได้
ถามว่าท่านเป็นอะไรหรือเปล่าค่ะ ทำไมตาแดงเชียว ท่านก็ตอบว่าไม่เป็นไร พอคุณหมอได้ออกไปจากห้อง "ท่านก็ดีใจ และได้พูดว่าหลวงปู่แสงมาช่วยเราแล้ว" พอหลังจากนั้นท่านก็ปิติใจนอนไม่หลับทั้งคืน ช่วงนั้นเป็นช่วงประมาณตี ๔ ท่านเริ่มมีอาการปวดท้องขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ท่านจึงรีบสวดพระคาถา ระโชหะระนัง ระชังหะระติ อีกครั้งหนึ่ง แต่อาการปวดก็ยังไม่บรรเทาลงท่านก็ท่องไปได้ไม่นาน ท่านก็เห็นแสงคล้ายผ้าเหลืองเป็นแสงสีทองที่สว่างมากพุ่งตรงมาหาที่ท้องของท่าน จากนั้นอาการปวดท้องก็ได้หายไปอย่างไม่นำเชื่อ พอรุ่งเช้าภรรยาของท่านก็ได้บอกให้ท่านช่วยเขียนเรื่องราวต่างๆที่ประสบกับตัวเอง ให้เขียนลงในกระดาษเพื่อเป็นวิทยาทานให้กับคนรุ่นหลัง
ต่อๆ ไป ซึ่งตอนนั้นท่านก็เขียนผิดๆ ถูกๆ ท่านเขียนไปก็ร้องไห้ไป ขณะนั้นท่านปิติใจมาก
จากนั้นทางครอบครัวของท่าน พลตรีเยาว์ ก็ได้พยายามเสาะแสวงหาว่า หลวงปู่แสงองค์ไหนวัดไหน ซึ่งทางครอบครัวไม่เคยได้ยินชื่อพระอาจารยันี้มาก่อน ทางบุตรสาวก็ได้หาข้อมูลจากเว็ปไซต์ต่างๆ โดยการคันหาจาก GOOGLE โดยพิมพ์คาถา ระโชหะระนัง ระชังหะระติ ของหลวงปู่แสง ซึ่งก็แสดงเป็นวัดมณีชลขัณฑ์ ซึ่งทางครอบครัวก็ยังไม่แนใจว่าใช่วัดของหลวงปู่แสงองค์เดียวกันหรือไม่ จึงได้เดินทางไปกราบจึงได้ถ่ายรูปที่เป็นรูปเหมือนของหลวงปู่แสงที่อยู่ในวิหารและรูปเจดีย์ต่างๆ ไปให้ท่าน พลตรีเยาว์ ดูว่าใช่พระอาจารย์หลวงปู่แสงองค์เดียวกันหรือไม ซึ่งพอกลับไปถึงก็เกิดเรื่องมหัศจรรย์ขึ้นอีก คือรูปที่ถ่ายมาทั้งหมดนั้น ไม่สามารถเปิดดูได้ ทุกคนรู้สึกตกใจมาก เพราะอยากให้ท่าน พลตรีเยาว์ ได้ดูรูปเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นทุกคนก็ได้อธิษฐานว่าขอให้เปิดได้ชักรูปก็ยังดี จากนั้นก็ลองเปิดดูอีกครั้งก็สามารถเปิดรูปดูได้ ทุกคนรู้สึกมหัศจรรย์ใจมากๆ จึงพูดขึ้นว่าสาธุพร้อมกันๆ
หลังจากนั้นทายาทของท่านก็เล่าว่า ตั้งแต่คืนนั้นท่าน พลตรีเยาว์ ก็ไม่มีอาการปวดท้องหรือเจ็บปวดทรมานอีกเลย ทำให้ทุกคนเคารพศรัทธาในตัวหลวงปู่
แสงมาก หลังจากนั้นท่าน พลตรีเยาว์ สิ้นลมอย่างสงบและทำพิธีพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นลงแล้ว ภรรยาและบุตรจึงนำอัฐิของท่านเดินทางไปกราบสักการะรูปเหมือนหลวงปู่แสง ณ วัดมณีชลขัณฑ์ บุตรของท่านเล่าว่า พอไปถึงก็ได้กัมกราบหลวงปู่แสงที่เจดีย์...อยู่ๆ ก็มีลมมาหมุนอยู่ที่ตัวของคุณแม่อยู่นาน ซึ่งทำให้คุณแม่ดีใจและแปลกใจมาก
จากนั้นก็ได้เห็นหนังสือ "เจ้าขรัว แสงแห่งบูรพาจารย์" จึงได้เปิดดูเห็นในหนังสือมีพระ ๕ รูป ยืนอยู่ในหนังสือซึ่งตรงกับที่ท่าน พลตรีเยาวัได้พูดไว้ ซึ่งทุกคนจึงมั่นใจว่าเป็นวัดของหลวงปู่แสงที่ตามหาอย่างแน่นอน
ดังนั้นจึงแจ้งความจำนงขอหนังสือนำไปแจกในงานทำบุญครบร้อยวันของท่าน พลตรีเยาว์ เป็นจำนวน ๒๐๐ เล่ม
ตอนนั้น พวกเราทุกคนที่ได้ฟังเรื่องของท่านพลตรีเยาว์ ต่างรู้สึกอัศจรรย์ใจและอนุโมทนาบุญไปกับท่านด้วย ที่มีครูบาอาจารย์มาช่วยนำทาง
ไปสู่สัมปรายภพและกำลังใจของท่านเองที่สามารถน้อมนำคุณ
แห่งพระรัตนตรัยมาเป็นธรรมโอสถในวาระสำคัญของชีวิต
เปิดจอง!! งานหลักหมื่น ร่วมบุญหลักพัน
ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถานที่ประดิษฐาน "พระพุทธธรรมมาสน์ศรีรัตนนาคราช" วัดถ้ำพระธรรมมาสน์ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
พระพุทธธรรมมาสน์ฯ องค์จำลอง ฐาน 7 นิ้ว หน้าตัก 5 นิ้ว สูง 12 นิ้ว
》เนื้อสัมฤทธิ์ (เคลือบสีพาติน่า) จัดสร้าง 9 องค์ ร่วมบุญ 9,999 บาท (หมด) ค่าจัดส่ง 200 บาท รวม รวม 11,199 บาท
》เนื้อทองเหลือง (เคลือบสีพาติน่า) จัดสร้าง 99 องค์ (ให้จองได้ 90 องค์) ร่วมบุญ 5,999 บาท ค่าจัดส่ง 200 บาท รวม 6,199 บาท
ใต้ฐานบรรจุ มวลสารศักดิ์สิทธิ์: ผงวิเศษจากถ้ำพระธรรมมาสน์(ถ้ำพระวังแดง), ข้าวตอกพระร่วง, พลอยเสก, พระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ แบบฉบับของ หลวงพ่อชาญ สุมังคโล (ท่านที่เคยบูชาของมงคงจากทางวัดไป เคยสัมผัสได้ถึงกลิ่นหอมจนอัศจรรย์ใจในบางวัน)
สามารถโอนปัจจัยร่วมบุญ ได้ที่ พิชิต ศรีรัตนวงศ์ ธนาคารกรุงเทพ เลขที่ 1420763532 ลงสลิปใน comment ที่ท่านจองเท่านั้น
ผมจัดสร้างด้วยจินตนาการส่วนตัว และคำแนะนำจากคุณลุงทองดีที่ให้สร้างพญานาคมุจลินทร์ มีเพียงเศียรเดียว และท่านมีลักษณะเป็นงูใหญ่ จึงได้แบบออกมาตามที่ตั้งใจ และผมได้ฝันนิมิตรว่าท่านมาปรากฏกายให้เห็น (หลังทำสีพาติน่าประดับ รับประกันความงดงาม)
งานนี้มิได้เป็นพุทธพาณิชย์ จึงไม่มีเผื่อกำไรในการจัดสร้าง หวังเพียงให้ของมงคลตอบแทนแก่ผู้ร่วมบุญทุกท่าน และขออนุโมทนากับท่านที่มีจิตศรัทธาทุกท่าน ให้มีอายุวัณโณ สุขะ พลานามัยที่ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง
*** หลวงพ่อชาญ สุมังคโล ท่านจะเดินทางออกจากทุ่งแสลงหลวงมาเททองหล่อด้วยตนเอง ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 และจะนำกลับไปอธิษฐานจิต และบรรจุมวลสารใต้ฐาน ต่อที่วัด รับพระได้ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
ท่านที่ร่วมบูชา แจ้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด ปีนักกษัตร เพื่อลงในแผ่นทอง หล่อองค์จริง (1 องค์ ต่อ 1 ดวง) ภายในวันที่ 1 ก.ค. เท่านั้น
โอนปัจัยร่วมบุญภายใน 3 วัน ถือให้เป็นการจองสำเร็จ ผมจะลงลำดับการจอง 1-90 ให้ใต้สลิปทุกท่าน
พรุ่งนี้ อานิสงส์ จะนำบทความมาลงเพิ่มให้ครับ
เช้าวันนี้้เป็นวันพระ อานิสงส์ ให้บริการรับจัดงานทำบุญบ้าน รับทำบุญสำนักงาน ถือโอกาส ในการนำโอวาทธรรมของหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม ซึ่งเป็นหนึ่งพระอริยสงฆ์ ควรค่าแก่การกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ มาเขียนเผยแพร่ให้แก่คนที่ต้องการธรรมะปฏิบัติเพื่อมาขัดเกลาจิตใจของเรากัน.
โอวาทธรรมหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนมประชาคม
ที่พวกเราได้เกิดมาตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นลาภอันประเสริญที่ร่างกายของเราผ่านพ้นมาถึงปัจจุบัน ทีนี้อันดับต่อไปให้เราระลึกเตือนตนเองว่าเราจะได้สร้างคุณงามความดีที่พวกเราได้มาศึกษาจากครูอาจารย์เรื่องข้อวัตรปฏิบัติ เรื่องกระทำบำเพ็ญ เราก็คงจะพอเข้าใจกันบ้างแล้ว มีแต่พวกเราจะทำให้มันมาก เจริญให้มันยิ่งขึ้นไป ให้ได้รับผลของการปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเหมือนกัน เพราะมันต้องฝืนธรรมดา ฝืนธรรมชาติ เพราะธรรมชาติของจิตใจมักชอบจะไหลลงไปทางต่ำเสมอ เพราะฉะนั้นเราต้องฝืน เวลาทำอะไร ก็ทำจริง ปฏิบัติจริง มันจะได้เห็นของจริง ทำมากก็ได้ผลมาก ทำน้อยก็ได้ผลน้อย จนกว่ามันจะรู้จะเห็นเป็นไปของเรา ความเป็นไป ความได้ มันอยู่ตรงไหน มันอยู่ในจิต คือ ตัวสติ ตัวรู้ คือความรู้นี่ฟื้นฟูดวงรู้ขึ้นมา ดวงรู้นี่คือดวงใจของเราทุกคน แต่ว่ามันรู้อยู่แต่มันไม่เต็มภูมิ เปรียบเหมือนพระจันทร์ที่ไม่เต็มดวง ดังนั้นเราจึงต้องมาศึกษาปฏิบัติ เพื่อรักษาตัวสติให้มันติดต่อ ให้มันต่อเนื่อง ให้มันเติมเด็มขึ้นมา ตัวรู้ เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ปัญญามันก็จะตามมา เพราะปัญญากับสติมันอยู่ด้วยกัน มีสติรู้อยู่กับอารมณ์กรรมฐานที่เราปฏิบัติอยู่ บางคนกำหนดลมหายใจ หรือกำหนดบริกรรม หรือกำหนดที่ใดที่หนึ่ง เมื่อเรากำหนดอยู่ที่จุดใดก็กำหนดให้มันอยู่ที่จุดนั้น เมื่อเวลาจิตมันแว่บไปก็ให้มันรู้ มันอยู่ก็ให้มันรู้ หรือมันฟุ้งซ่านรำคาญก็ให้มันรู้ ให้ฝึก สติตัวรู้ ก่อน เหมือนกับเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่ เมื่อมันเกิดมาใหม่ ก็ต้องฝึกนั่ง แล้วก็มาฝึกยืน........ .เมื่อยืนมั่นคงแข็งแรงแล้ว ค่อยก้าวออกไห ถ้ามันไม่แข็งแรงก้าวออกไปก็จะล้ม เช่นเดียวกัน เราต้องฝึกสติ ฝึกไป ทำไป เรื่อย ๆ เมื่อนานไป จิตมันจะอยู่เป็นสมาธิ เราบริกรรมพุทโธ พุทโธไป เรื่อย ๆ จนจิตมันวางคำบริกรรม มันจะวางพุทโธไป เมื่อมันวางพุทโธแล้วจิตมันจะนิ่ง เมื่อนิ่งเข้าก็จะเหลือแต่ดวงรู้อย่างเดียว เมื่อเหลือแต่ดวงรู้ เราก็กำหนดรู้อยู่นั่นแหละ ประคองดวงรู้ให้มันเด่นดวงอยู่นั่นแหละ ถ้ามันอยู่ได้นานก็ยิ่งดีเมื่อฝึกครั้งแรก ให้จับหลักสมาธิตัวนี้ให้มั่นคงก่อน เมื่อมั่นคงแล้ว เราจะไปพิจารณาร่างกายของเรา ให้ดูกาย ว่าร่างกายนี้มีรูป รูปคือขันธ์ มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ ที่เรียกว่าขันธ์ 5 โดยพิจารณาแยกแยะออกจากรูปอันนี้ ร่างกายมีอะไรบ้าง มันมีธาตุทั้ง 4 มีดิน มีน้ำ มีไฟ มีลม ประชุมรวมกัน ธาตุดิน มี ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก ตับ ปอด ลำไส้ อาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นต้น เหล่านี้ เรียกว่าธาตุดิน
เเ
การนั่งสมาธิ ดับทุกข์
1. ให้ประคองศีล ๕ ให้สมบูรณ์ ด้วยการงดการกระทำดังกล่าว ทั้งกาย วาจา ใจ
2. ให้แบ่งเวลาในแต่ละวันให้เหมาะสมของตัวเอง ทั้งในเรื่อง การงานเพียงพอ การพักผ่อนเพลิดเพลิน และมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ
3. ในการทำสมาธิ ให้นั่งอย่างสงบสำรวม อย่าเคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า ให้นั่งตามที่เราถนัดและสบาย จะได้ไม่อึดอัดเวลานั่งทำสมาธิ
4. วิธีฝึกสมาธินั้น ขอให้ทำจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกคิดใด ๆ ปราศจากความต้องการที่จะเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์นรก หรือสิ่งต่าง ๆ รวมถึงปราศจากที่จะต้องการได้บุญจากการนั่งสมาธิ เพราะสิ่งนั้นเป็นอาสวะกิเลส เพราะสมาธิที่แท้จะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น
5. เมื่อเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้วให้หลับตาพอสบาย สำรวมจิตเข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก โดยอาจจะนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับ ๑ หายใจออกนับ ๒ อย่างนี้เรื่อยไป ให้นับช้า ๆ หรือให้กำหนดพุทโธก็ได้ เพื่อเป็นการให้สติอยู่กับการนับนั้น ไม่ซัดส่ายไปคิดเรื่องอื่น และเมื่อจิตสงบเข้าที่แล้ว มันก็จะหยุดนับของมันเอง
6. แต่ในการฝึกแรก ๆ นั้น เราจะเจอปัญหาต่าง ๆ มากมายในเรื่องของจิต เพราะมันจะซัดส่ายไปคิดเรื่องต่าง ๆ ก็ให้ช่างมัน ให้ท่านกำหนดใหม่ว่าจะสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะทำสัก 10 ก็ได้ และให้เฝ้ากำหนดจิตไปเรื่อย ๆ จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดซัดส่ายไปมาก หรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้ของมันเอง
8. การฝึกสมาธินี้ให้พยามยามทำทุกวันๆ ละ ๒ – ๓ ครั้ง แรก ๆ ให้ทำครั้งละ 10 นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงครั้งละ 1 ชั่วโมง หรือกว่านั้น ตามที่ต้องการ และเหมาะสมในการแบ่งเวลา (ทำงาน และพักผ่อน และอื่น ๆ)
9. ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบ เย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับไหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละคือสัญญาณที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต
10. เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อจะพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใด ๆ ที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ
11. ให้เอาปัญหานั้นขึ้นมาพิจารณาว่า สาเหตุของปัญหา มาจากไหน อะไรทำให้มันเกิดขึ้น ทำไมเราจึงหนักใจกับสิ่งนั้น และจำทำอย่างไรที่เราสามารถแก้ไขได้ ทำอย่างไรเราถึงไม่เป็นทุกข์กับปัญหานั้น
12. การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของเราจะค่อยๆ รู้ และเกิดความรู้คิดขึ้นมาโดยธรรมชาติ จิตจะสามารถเข้าใจต้นเหตุของปัญหา ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง
13. ในกรณีที่ยังไม่มีปัญหาความทุกข์ หลังจากที่จิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาหัวข้อธรรมะหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตัวเองมาพิจารณาว่า มันมีความจีรังยั่งยืนเพียงใด เราได้สื่งไรจากร่างกายและจิตใจนี้ เราจะอยู่ในโลกนี้อีกนานเท่าไหร่ เมื่อเราตาย เราจะได้อะไร ให้ถามตัวเองเช่นนี้อยู่เสมอ .....
14. หรือเราอาจจะเอาจิตไปดูการกระทำของเราในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดูว่าเราได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมหรือไม่ หรือเราได้ทำอะไรผิดพลาดไป และตั้งจิตตั้งใจไว้ว่า ต่อไปเราจะไม่ทำสิ่งผิด จะไม่พูดสิ่งที่ไม่ดีที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ เราจะพูดและทำแต่สิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ ต่อโลกนี้ให้ดีที่สุด
15. ให้เข้าใจให้ถูกต้องว่า จุดมุ่งหมายของการฝึกสมาธิ คือเราทำเพื่อให้จิตของเราสงบจากอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตของเราสงบเป็นสมาธิ จิตจะมีกำลัง และมั่นคง สภาวจิตเช่นนั้น คือจิตที่มีความพร้อมในการที่จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่างๆ หรือสิ่งต่างๆ ที่แวดล้อมตัวเราอยู่ ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
16. สรุปว่า เราฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไปพัฒนาความคิดนึก หรือความรู้สึกของเราให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ “ปัญญา“ นั่นเอง
17. จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชิวิตของท่านก็คือความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้นก็จะไม่หมดไปได้เพราะการไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทันตามความเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น
18. ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง เราต้องกำหนดจิตให้สงบ ก่อน จากนั้นให้เอาจิตที่สงบดีนั้น มาพิจารณาถึงปัญหาที่ทำให้เราเป็นทุกข์
19. เราต้องยอมรับด้วยว่า ปัญหาหลาย ๆ อย่าง เราไม่สามารถจะไปแก้ไขมันได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ด้วยตามสภาวะแวดล้อมของมันเอง แต่หน้าที่ของเราคือต้องพยามยามหาวิธีจัดการกับมันให้ดีที่สุด โดยคิดว่าเราทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้ ผลจะเกิดขึ้นอย่างไรก็ช่างมันปัญหามันจะหมดไปหรือไม่ก็ช่างมัน เราจะได้หรือจะเสียก็ช่างมัน เราทำหน้าที่ของเราได้ดีที่สุดแล้ว
20. เราจะต้องเปิดใจให้กว้าง ต้องยอมรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามเหตุของมัน เช่นเรื่องไม่ดีที่ไม่ปรารถนา มันก็อาจจะเกิดขึ้นได้ตามเหตุของมัน เพราะทุกสิ่งเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง บางทีมันก็ดี บางทีก็ไม่ดี มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง เรื่องไม่ดีไม่ต้องการจะให้มันเกิด สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากอำนาจของเทวดาฟ้าดินที่ไหน มันเป็นสิ่งธรรมดาที่มีอยู่ในโลกนี้ มันเป็นไปตามกรรม
21. “อนิจจัง“ แปลว่าความไม่เที่ยง ความไม่จีรัวยั่งยืน ทุกสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนเป็นของไม่เที่ยงทั้งสิ้น ความเปลี่ยนแปลงจากดีไปเป็นเลว เปลี่ยนจากความสุข ไปเป็นทุกข์ จากสมหวังไปเป็นความผิดหวัง เป็นต้น เหล่านี้ก็ล้วนเพราะความไม่เที่ยงของมันนั่นเอง ดังนั้นเราจงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศกไปกับเรื่องดีร้ายที่เกิดกับตัวเรา แต่จงรู้จักมันว่า มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว ถ้าเรารู้อย่างนี้ด้วยความสงบของสมาธิ จิตของเราก็จะไม่เป็นทุกข์เลย
22. “ทุกขัง“ แปลว่าความเป็นทุกข์ จงจำได้ว่า ชีวิตของคนเรานั้นล้วน มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ลักษณะของความทุกข์นั้นได้แก่ ความเกิด ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรัก และความผิดหวัง เหล่านี้แหละคือความทุกข์ที่คนทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้กำลังประสบอยู่
พรุ่งนี้ ทางอานิสงส์ บริการรับจัดงานทำบุญบ้าน ทำบุญสำนักงาน จะนำบทความดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและขัดเกลาจิต มาเขียนเพิ่มเติมให้ค่ะ
อานืสงส์ รับจัดงานทำบุญบ้าน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญสำนักงาน ทำบุญอุทิศ ทำบุญวันเกิด
รับจัดเลี้ยงนอกสถานที่, รับจัดงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่, รับจัดอาหารนอกสถานที่,รับจัดงานทำบุญบ้าน,รับจัดงานทำบุญบริษัท,รับจัดงานทำบุญอุทิศ,รับจัดงานทำบุญเลี้ยงพระ,รับจัดอาหารเลี้ยงพระ,รับจัดงานทำบุญ,ทำบุญบ้าน
ธรรมโอสถ เข้าใจโลก ปล่อยวางโรค
ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นเรื่องที่ไม่พึ่งปรารถนาของทุกคน และถึงแม้ปัจจุบันจะมียารักษาโรคมากมาย หรือจะเป็นยาแผนโบราณ ยาสมุนไพรก็ตามที... แต่ก็ไม่อาจมียาใด ๆ ที่รักษาจิตใจของเราให้ปล่อยวางจากโรคต่าง ๆ ได้อยู่ดี... ฉะนั้นแล้ว การรักษาโรคใดก็ตาม ต้องมีการใช้ธรรมะ เข้ามารักษาใจให้รู้จักปล่อยวางโรคต่าง ๆ ด้วย ที่เรามักจะเรียกกันว่า ธรรมโอสถ นั่นเอง
ธรรมโอสถ เปรียบเหมือนเกราะคุ้มครองจิตใจ ป้องกันไม่ให้ความทุกข์ต่าง ๆ เข้ามาเบียดเบียนโรคทางจิตใจ หรือทำให้เราได้รู้จักปล่อยวางโรคทางกายได้อีกด้วย โดยพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่คำสอนต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์โลกได้เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต นั่นก็คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือเรียกอีกอย่างว่า "อริยสัจ4"
เมื่อบุคคลใดก็ตาม ได้พิจารณาร่างกาย และทุกข์ต่าง ๆ ที่เคยประสบพบเจอมาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้แล้ว ก็จะปล่อยวาง มีสติ มีปัญญา ขึ้นมา และอาการเจ็บป่วยทางร่างกายก็จะลดน้อยลงได้ด้วย
โรคต่าง ๆ ที่เกิดจากใจเรา
• โรคราคะ โรคที่ทำให้จิตใจ โน้มเอียงไปในความกำหนัด รักใคร่ ไม่ว่าจะมองเห็นผ่านทางตา หรือได้ยินผ่านทางหู เมื่อเห็นเป็นของน่ารักใคร่ น่าพอใจ ก็จะทำให้เกิดความปีติยินดีไปทั้งนั้น ยาที่ควรใช้เพื่อรักษาโรคราคะ คือ อสุภะกรรมฐาน ให้มองเห็นสิ่งสวยงามต่าง ๆ เป็นเพียงของปฏิกูล เน่าเสีย หรือเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์
• โรคโลภะ เมื่อมีความอยากได้ไม่รู้จักพอ จึงต้องสอนให้รักษาด้วย การให้ทาน เสียสละของรักเพื่อสละความโลภ เช่น เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ แก่บุคคลผู้ยากไร้ หรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และบุญกุศลจากการให้ทานต่าง ๆ นี้ ย่อมส่งผลให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง จากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นหาย ได้อีกด้วย
• โรคโทสะ คิดแต่จะทำลาย หมายแต่โทษแต่ผู้อื่น โดยมิได้นึกถึงความเลวที่เรามีบ้าง จึงถือเป็นโรคที่ร้ายแรงมาก เพราะเป็นการทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ให้แก้ด้วยหลัก พรหมวิหาร 4 "เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา" หรือลองวางอารมณ์ตั้งแต่ตื่นนอนว่า วันนี้เราจะไม่โกรธใคร ถึงแม้เขาจะทำให้เราต้องโกรธก็ตามที พยายามทำให้ได้ทุกวัน หรือตามเวลาที่เรากำหนดไว้ แล้วอารมณ์โกรธก็จะค่อย ๆ น้อยลงไป เปลี่ยนเป็นความเมตตาแทน
• โรคโมหะ ความคิดผิด เห็นผิด เป็นเหตุให้กระทำผิด พูดผิดจากความจริง เห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ต้องรักษาด้วย การหมั่นเจริญสติ หรือ หมั่นรู้ลมหายใจ เข้า-ออก ให้จิตมีกำลัง - มีสติทรงตัว และให้หมั่นใคร่ครวญ ยับยั้งชั่งใจ มองถึงเหตุ และผลด้วยปัญญา
บุญที่สูงที่สุด
โดย สมเด็จพระพุทธจารย์โตฯ วัดระฆัง
ผู้ให้ธรรมทาน ได้ชื่อว่า ให้มนุษย์สมบัติ
สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
การให้ธรรมเป็นทาน ขอเพียงผู้ให้
มีศรัทธาทางธรรม ก็สามารถให้ทานได้
คนที่รู้ธรรมมาก น้อย หรือไม่รู้เลยก็ให้ได้
เป็นพระหรือฆารวาสก็สามารถให้ธรรมได้
ด้วยการสร้างธรรมทาน จึงกระทำได้ทุกคน
ผู้ปรารถนาอยากได้บุญที่สูงที่สุด คือ การ
สร้างมหาบุญกุศล ด้วยการทำหนังสือธรรมะ
หนังสือธรรม หนังสือสวดมนต์ ที่มีคำสอน
ของพระพุทธเจ้าให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้
ผู้รับธรรม รับแล้วก็ต้องเอาไปปฏิบัติ
ไม่ปฏิบัติก็ไม่เกิดผลดีอันใดๆ เปรียบเหมือน
มีดินแล้วไม่ยอมปลูก มีอาหารแล้วไม่ยอมกิน
มีไม้แล้วไม่ยอมปลูกบ้าน มีเงินแล้วไม่ยอมใช้
สิ่งเหล่านี้ถึงจะมีก็เหมือนไม่มี
ผู้รับนำเอาธรรมนั้นไปใช้ ไปปฏิบัติตามจะเกิด
ประโยชน์นับภพนับชาติไม่ได้ ย่อมได้สมบัติ
ในสุขคติภพ และถึงพระนิพพานสมบัติอันเป็นที่สุด
ฉะนั้นผู้ใดให้ธรรมเป็นทานก็เท่ากับ เอามนุษย์สมบัติ
สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ไปให้กันเลยทีเดียว
มีแต่หาความสุขความเจริญอย่างที่สุดมิได้
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคล
ประพฤติอยู่เป็นนิจย่อมนำสุขมาให้
"..อานุภาพแห่งบุญกุศลนี้ มันเป็นไปเพื่อความสงบ
เพราะฉะนั้นผู้ใดมีบุญมากขึ้นมาแล้ว
ก็สงบ ไม่ชอบวุ่นวาย นี่เป็นลักษณะของผู้มีบุญมาก
เราต้องเอาเรื่องนี้แหละ เป็นเครื่องวัด
จะเอาแต่เอาแต่เงินแต่ทอง ข้าวของมากมายนั้น
มาเป็นเครื่องวัด ว่าเป็นคนมีบุญมากอย่างนั้น
ดูจะไม่ถูกเท่าไรนัก แต่ก็มีถูกอยู่บ้าง
แต่ถ้าจะให้ถูกตรงๆ จริงแล้วมันต้องหมายเอาบุคคล
ผู้ที่เบื่อหน่ายต่อความวุ่นวาย ต่อความเละเทะต่างๆ
ในโลก แล้วก็ยินดีแสวงหาความสงบทางจิตใจ
นี่อันนี้จึงเป็นที่แน่นอนว่า เป็นคนมีบุญมากจริง.."
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
“..โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงไม่ได้
เราต้องเข้าใจตามนี้ ให้คิดว่าการเกิดในโลก
ไม่มีอะไรเป็นสุข มีแต่ความทุกข์อย่างเดียว
ตั้งแต่วันเกิดถึงวันตาย ไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์
คนที่คิดว่าสุขก็คือโง่ เป็นคนที่ไร้ปัญญา
คือไม่ใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง..”
จะขอแนะนำหลักในการนั่งสมาธิ ของท่านผุ้ที่มาใหม่ยังไม่เคยทำ พอให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี
๑.ให้ตั้งใจว่าเรื่องราวอะไรทั้งหมด เราจะไม่เก็บมานึกคิด จะนึกถึงแต่พุทธคุณอย่างเดียว คือ พุทโธ
๒.ตั้งสติกำหนดนึกถึงลมหายใจเข้าว่า พุท ออกว่า โธ หรือจะนึก พุทโธๆ อยู่ที่ใจอย่างเดียวก็ได้
๓.ทำจิตให้นิ่ง แล้วทิ้งคำภาวนา พุทโธ เสีย ให้สังเกตแต่ลมที่หายใจเข้าออกอย่างเดียว เหมือนกับเรายืนเฝ้าดูวัวของเราอยู่ที่หน้าประตูคอก ว่าวัวที่เดินเข้าไปและออกมานั้น มันเป็นวัวสีอะไร สีดำ แดง ขาว ด่าง วัวแก่หรือวัวหนุ่ม เป็นลูกวัวหรือวัวกลางๆ แต่อย่าไปเดินตามวัวเข้าไปด้วย เพราะมันจะเตะขาแข้งหักหรือขวิดเอาตาย ให้ยืนดูอยู่ตรงหน้าประตูแห่งเดียว หมายความว่า ให้จิตตั้งนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ต้องเคลื่อนไหวไปกับลม
๔.ที่ว่าให้สังเกตลักษณะของวัวก็คือให้รู้จักสังเกตว่า ลมเข้าสั้นออกสั้นดี หรือลมเข้ายาวออกยาวดี ลมเข้ายาวออกสั้นดี หรือลมเข้าสั้นออกยาวดี ให้รู้ลักษณะของลมว่าอย่างไหนเป็นที่สบาย ก็ทำอย่างนั้นเรื่อยไป
๕.ต้องทำให้ได้อย่างนี้ทั้ง ๓ เปราะ คือ เปราะแรกภาวนา พุทโธๆ ตั้งใจนึกด้วยสติหรือด้วยใจ เปราะที่ ๒ ให้สติอยู่กับลมเข้า พุท ลมออก โธ ไม่ลืมไม่เผลอ และเปราะที่ ๓ จิตนิ่ง ทิ้ง พุทโธ เสีย สังเกตแต่ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว
๖.เมื่อทำได้เช่นนี้ ใจของเราก็จะนิ่ง ลมก็นิ่งเหมือนขันน้ำที่ลอยอยู่ในโอ่ง น้ำก็นิ่ง ขันก็นิ่ง เพราะไม่มีใครไปกด ไปเอียง ไปกระแทกมัน ขันนั้นก็จะลอยเฉยเป็นปกติอยู่บนพื้นน้ำ เหมือนกับเราขึ้นไปนั่งอยู่บนยอดเขาสูงๆ หรือขึ้นไปลอยอยู่เหนือเมฆ ใจของเราก็จะได้รับแต่ความสุขเยือกเย็น นี้ท่านเรียกว่า มหากุศล คือเป็น ยอด แก่น หรือรากเง้า ของกุศลทั้งหลาย
๗.ที่ว่าเป็น รากเง้า ก็เพราะมันลึกและแน่น คือเป็นความดีส่วนลึกที่อยู่ในดวงจิตของเราซึ่องอยู่ตรงกลางตัว ที่ว่าเป็นแก่น ก็เพราะมันเป็นของมั่น แข็ง และเหนียว เหมือนกับแก่นไม้ซึ่งมีความเหนียวและมั่นคง มอดก็ไม่สามารถมาเจาไชให้ผุได้ ถึงมันจะมาแทะได้บ้่างก็เพียงแค่เปลือกนอกหรือกระพี้เท่านั้น คือนิวรณ์ทั้งหลายจะมารบกวนได้ก็เพียงแค่อายตนะภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่นรูปมากระทบตา มันก็อยู่แค่ตาไม่เข้าไปถึงใจ เสียงมากระทบหู มันก็อยู่แค่หูไม่เข้าถึงใจ กลิ่นมากระทบจมูก ก็อยู่แค่จมูก ไม่เข้าถึงใจ จึงเรียกความดีส่วนนี้ว่าเป็นแก่นบุญ เพราะความชั่วทั้งหลายไม่สามารถจะมาทำลายจิตใจที่มั่นคงนี้ให้เสียไปได้ง่ายๆ เหมือนไม้แก่นที่ตัวมอดไม่อาจกัดกินให้ผุได้ ฉันนั้น
๘.ที่ว่ายอดนั้นก็คือ คำว่า ยอด เป็นของสูงโดยลักษณะอย่างหนึ่ง เช่นยอดเนื่องด้วยการบริจาคก็เรียกว่า ทานมัยกุศล บุญซึ่งเนื่องด้วยการสำรวมกายวาจาให้เป็นปกติเรียกว่า สีลมัยกุศล และบุญซึ่งเนื่องด้วยการบำเพ็ญจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดก็เรียกว่า ภาวนามัยกุศล ฉะนั้น การภาวนาจึงเป็นยอดของกุศลทั้งสามนี้ และมีคุณภาพสูง คือสามารถที่จะดึงดูดบุญกุศลน้อยใหญ่ ให้เข้ามารวมอยู่ในดวงจิตของเราได้
๙.เมื่อดวงจิตของเราสงบ บุญต่างๆ ก็จะไหลเข้ามารวมอยู่ในดวงจิตของเรา คือความดีแล้วความดีในดวงจิตนั้นก็จะขยายตัวออกมาครอบทางกาย กายของเราก็จะหมดจากบาป ออกมาครอบทางวาจา ปากของเราก็จะหมดจากบาป ทางกายกรรมคือตาที่เราเคยสร้างบาปมา ทางหูที่เราเคยสร้างบาปมา และมือที่เราเคยสร้างบาปมา ความดีที่เกิดจากการภาวนานี้มันจะขยายมาล้างตา มาชำระหู มาล้างมือ กายที่บาปด้วยสัมผัส บุญก็จะขยายมาล้าง ทีนี้กาย วาจา ตา หู จมูก ปาก และส่วนอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายของเราก็จะเป็นของสะอาดหมด
๑๐ เมื่อเราได้ของสะอาดมากำกับตัวเราเช่นนี้ ก็เรียกว่า คุณภาพสูง เหมือนน้ำสูงที่ตกลงมาแต่อากาศย่อมกระจายไปทั่ว ยิ่งสูงเท่าไรก็ยิ่งกระจายออกไปมากเท่านั้น ดวงจิตของเราถ้าสูงด้วยคุณธรรม ความดีทั้งหลายก็ย่อมกระจายไปตามตา หู จมูก ลิ้น กาย กระจายไปตาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กระจายไปทางอดีต ทางอนาคต ความดีนั้นก็จะขยายให้เย็นทั่วไปในโลกโลกีย์เป็นลำดับ ในการภาวนาจึงมีอานิสงส์โดยสั้นๆ อย่างนี้
๑๑.บุญ ซึ่งเป็นของสูงโดยคุณภาพนั้น เปรียบเหมือนน้ำฝนซึ่งตกลงมาแต่เบื้องบนอากาศ ย่อมจะเป็นเครื่องชำระล้างสิ่งโสโครกทั้งหลายในพื้นแผ่นดินได้อย่างหนึ่ง และช่วยบำรุงหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ให้มนุษย์ได้พึ่งพาอาศัยอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นยังทำให้คนได้รับความเย็นชื่นเบิกบานใจด้วย พระพุทธเจ้านั้นท่านได้ทรงโปรยความดีของท่านมาตั้งแต่วันแรกที่ทรงตรัสรู้ตลอดมาจนกระทั่งสองพันห้าร้อยปีล่วงแล้ว ท่านก็ยังทรงโปรยอยู่ ดังที่เราได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันมาทุกวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงเป็น มหาบุรุษ เป็นบุคคลสูงก็เพราะพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญความดีส่วนสูงส่วนยอดอันนี้
๑๒.การภาวนานี้ถ้าจะพูดอย่างกำปั้นทุบดินแล้ว ก็เป็น บุญ ไปทั้งนั้น แม้จะทำได้มากหรือน้อย หรือไม่ได้อะไรเลยก็เป็นบุญอยู่ในตัว คือเปราะที่ ๑.ระลึกได้เสมอเพียงแค่ พุทโธๆ เท่านี้ก็เป็นบุญส่วนหนึ่งแล้ว เปราะที่ ๒.มีสติอยู่กับลมหายใจอย่างเดียวก็ได้บุญ และเปราะที่ ๓.ทำใจนิ่งเฉยๆ รู้แต่ลมหายใจก็เป็นบุญอีก ฉะนั้น จึงเป็นของที่ควรจะพากันทำอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยเวลาและโอกาสให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ..
"จิตอบรมดีแล้วย่อมไม่ตกต่ำ"
ดวงจิตของเรานี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราปล่อยให้ลอยไป ไม่จับให้มันตั้งอยู่กับที่ คือ ปล่อยให้นอนอยู่กับสัญญาอารมณ์ตลอดเวลาแล้ว จิตนั้นก็ย่อมจะมีแต่ความเสื่อม ตกต่ำและเศร้าหมอง
เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนให้เราเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิต ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วก็จะหมดความวุ่นวาย เหมือนคนที่ทำงานเสร็จเรียบร้อย กายก็สบายได้พักผ่อน ใจคอก็ปลอดโปร่ง
และเมื่อใจสบายแล้วก็เกิดความสงบระงับตั้งมั่น เป็นจิตที่ก้าวขึ้นไปสู่ความดีหรือก้าวขึ้นไปสู่ระดับสูง เหมือนกับคนที่อยู่ในที่สูงๆ เช่น บนยอดเขา เสากระโดงเรือ หรือบนต้นไม้สูงๆ นั้นเขาย่อมจะมองเห็นอะไรๆต่างๆไปได้ทั่วทุกทิศ ทั้งใกล้ทั้งไกล มากกว่าคนที่อยู่ในที่ต่ำๆเช่น ในหุบเขา หรือในซอกเขา แสงสว่างก็ส่องเข้าไปไม่ทั่วถึง จะมองเห็นแสงพระอาทิตย์ได้ก็ไม่กี่ชั่วโมง
จิตที่มิได้อบรมให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี ก็ย่อมจะต้องตกต่ำ ไม่สว่างไสว
ถ้าเราได้อบรมจิตให้สูงขึ้นแล้ว สิ่งที่ใกล้เราก็จะต้องมองเห็น สิ่งที่ไกลเราก็จะต้องเห็นและความสว่างไสวก็จะมีแก่ตัวเรา นี่แหละการทำสมาธิ ย่อมมีอานิสงส์อย่างนี้
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
..ยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์
เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์
คือ ศีล ๕ และกุศลกรรมบท ๑๐
จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์
ชีวิตที่เป็นมานี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก
เพราะอันตรายชีวิตทั้งภายในภายนอกมีมากต่างๆ
การที่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก
เพราะกาลที่เปล่าว่างอยู่
ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยืดยาวนานนัก
บางคาบบางสมัย
จึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง
เหตุนั้นเราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด
อย่าให้เสียที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี
กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ
ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน
บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้ว
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด.
กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา
วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺตํ
อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
“โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ, ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเราตถาคต,
โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ, ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม,
โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส ปฏิจจสมุปฺปทามํ ปสฺสติ, ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท,
โย ปฏิจจสมุปฺปทามํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ, ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม,"
ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้
เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย
ปุพฺเพ ทานาทิกํ ทตฺวา อิทานิ ลภตี สุขํ
มูเลว สิญฺจิตํ โหติ อคฺเค จ ผลทายกํ
สทฺทสารตฺถชาลินี
"..การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ที่ประทานไว้ด้วยพระเมตตาสุดส่วนไม่มีใครเสมอในโลก นั้นคือการบูชาพระองค์ท่านแท้
การเห็นความจริงที่มีอยู่กับตัวตลอดเวลาด้วยปัญญาโดยลำดับ นั้นก็คือการเห็นพระตถาคตโดยลำดับ
การเห็นความจริงอย่างเต็มใจด้วยปัญญานั้นแล คือการเห็นพระพุทธเจ้าเต็มพระองค์
พระพุทธเจ้าแท้ ธรรมแท้อยู่ที่ใจ การอุปัฏฐากใจตัวเอง คือการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
การเฝ้าดูใจตัวเองด้วยสติปัญญา คือการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริง.."
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
"พระพุทธเจ้าว่าธรรมะไม่อยู่ที่อื่น อยู่ที่สกนธ์กายของทุกคน ดูจิตใจของตนนี้ให้มันเห็นความจริงของมัน
พระพุทธเจ้าว่า สกนธ์กายของเรานี้มันเป็นทุกข์ สกนธ์กายนี้ไม่เที่ยง ก้อนอันนี้ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์
มันอยากจะเป็นไปอย่างใด ก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน กิริยาของมัน มันไม่ฟังคำเรา อยากแก่ มันก็แก่ไป อยากเจ็บ มันก็เจ็บไป อยากตาย มันก็ตายไป
ธรรมเหล่านี้ไม่ใช่ของใคร ให้พิจารณาดูให้เห็นเป็นก้อนธรรม
มันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครทั้งนั้น มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนิจจัง มันเป็นอนัตตา ตกอยู่ในไตรลักษณ์ เป็นผู้หญิงผู้ชาย ก็สมมติทั้งนั้น"
อวิชชา (เป็นเหตุ) ให้เกิดสังขาร
สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
ท่านว่าให้ดับความโง่อันเดียว
เท่านั้น ผลดับหมด
เพราะธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ
ธรรมทั้งหลาย ดีก็ดี ชั่วก็ดี ไหลมาแต่เหตุ
คือความโง่ ความไม่เข้าใจคิดว่าเป็นตัวเป็นตน
ก็ได้รับผลเป็นสุข เป็นทุกข์สืบไป
ท่านเรียกว่า วัฏฏะ การวน วนไม่มีที่สิ้นสุด
พระอาจารย์ขาว อนาลโย
"..ให้พิจารณาดูสกลร่างกาย
ตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาบนศีรษะ
ตั้งแต่ศีรษะลงไปหาปลายเท้า
ดูซิว่ามันมีอะไรบ้าง ?
อะไรเป็นของสะอาดไหม ?
เป็นของเป็นแก่นสารไหม ?
นับว่าแต่มันจะทรุดเรื่อยมาอย่างนี้
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เห็นสังขาร
ว่า ของไม่ใช่ของเรา มันก็เป็นอย่างนี้
ของที่ไม่ใช่ของเรา มันก็เป็นอย่างนี้
จะให้มันเป็นอย่างไรล่ะ ?
อันนี้มันถูกแล้ว..
ถ้าโยมมีความทุกข์ โยมก็คิดผิดเท่านั้นแหละ
ไปเห็นสิ่งที่มันถูกอยู่โดยความเห็นผิด
มันก็ขวางใจเท่านั้น.."
ท่านให้วางทั้งสุขและทุกข์ การวางทั้งสองได้นี้เป็นสัมมาปฏิปทา ท่านเรียกว่าเป็น ทางสายกลาง
คำว่า "ทางสายกลาง" ไม่ได้หมายถึงในด้านกาย และวาจาของเรา แต่หมายถึงในด้านจิตใจ เมื่อถูกอารมณ์มากระทบ
ถ้าอารมณ์ที่ไม่ถูกใจมากระทบกระทั่ง ก็ทำให้วุ่นวาย ถ้าจิตวุ่นวายหวั่นไหวเช่นนี้ ก็ไม่ใช่หนทาง
เมื่ออารมณ์ที่ดีใจเกิดขึ้นมา แล้วก็ดีอกดีใจ ติดแน่นอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยโค อันนี้ก็ไม่ใช่หนทาง
ภาวนาตลอดเวลา
"....ถ้าเรามีสติอยู่มีสัมปชัญญะอยู่ มีความรู้ตัวอยู่เสมอแล้ว ก็คือเราได้ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา ดังนั้นไม่ควรคิดว่าธรรมะอยู่ไกล ถ้าเราเห็นสิ่งเหล่านี้สักแต่ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เท่านี้ปัญญามันก็เกิด
ถ้าอารมณ์สุขขึ้นมา ทุกข์ขึ้นมา ชอบใจขึ้นมา ไม่ชอบใจขึ้นมา เรานึกเห็นมันทุกอย่างว่ามันก็เท่านั้นแหละ สุขมันก็เท่านั้นแหละ ทุกข์มันก็เท่านั้นแหละ ก็แปลว่าเราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว
เมื่อเห็นแล้วเราไม่ยึดไม่ถือ คลี่คลายจากราคะ โทสะ โมหะ อยู่เรื่อยไป เรียกได้ว่าเราปฏิบัติอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งยืนเดินนั่งนอน มีความรู้อยู่ มีความเห็นอยู่ มีความพร้อมเพรียงอยู่ มีความปฏิบัติอยู่ พิจารณาอยู่ ภาวนาอยู่ตลอดเวลา...."
"...พวกเราลองดูซิ ไปนั่งกรรมฐาน กัดฟันเข้า!
ขัดสมาธิยันเลย ตายเป็นตาย เหงื่อมันไหลแหมะๆ
ความสงบไม่ใช่มันอยู่ตรงนั้น
ความสงบนั้นมันอยู่ที่ พอดีๆ
มันจะดีขนาดไหนมันก็ไม่สงบ ถ้ามันดีเกินดี
มันไม่ดีพอดี มันเกินไป มันดีไม่พอ
ดีขนาดไหนก็ให้ พอดี มันถึงดี
ดีเกินดี มันไม่ดีหรอก ให้พวกเราเข้าใจอย่างนั้น
แต่คนเราตัณหามันก็ว่า ต้องทำอย่างเฉียบขาด
ไปนั่งกัดฟันลองดูซิไม่มีทางหรอก วุ่นตลอดเวลา.."
หลวงปู่ชา สุภัทโท
บ้านที่แท้จริง
"..ท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ท่านเกิดมาในโลกนี้
และเป็นอยู่ในขณะนี้นั้นเพื่อประโยชน์อันใด ?
และประโยชน์นั้นท่านได้ทำให้แก่สังคม
และตัวของท่านเองแล้วหรือเปล่า ?
หากท่านยังไม่เคยคิด ก็ขอให้รีบคิดและรีบทำเสีย
อย่าได้ปล่อยเวลาให้หมดสิ้นไป
โดยหาประโยชน์มิได้เลย เพราะเวลาเป็นของมีค่า
หมดไปแล้วเอากลับคืนมาไม่ได้อีก
อย่าอยู่โดยไม่คิดอะไรเสียเลย
เหมือนไม้ตายยืนต้นไม่มีแก่นฉะนั้น.."
"..บางคนบอกว่า ไม่เห็นทุกข์ อยู่กับทุกข์ ทุกวันทุกคืน ไม่เห็นอย่างไร? ทำไมจึงไม่พิจารณา
ยืน เดิน นั่ง นอน เปลี่ยนอิริยาบถ ก็ล้วนแต่เปลี่ยนเพื่อระงับทุกข์ การอยู่ การกิน การนอน ก็ล้วนแล้วแต่เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อระงับทุกข์เท่านั้น การเจ็บการป่วยเล็กๆน้อยๆ เรียกว่า เวทนา มันมีอยู่ประจำ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ เป็นหนาว ด้วยอาการต่างๆ ก็ล้วนแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้น ครั้นพิจารณาลงอันเดียวมันเห็น เห็นในตัวของเรานี่แหละ ไม่ต้องไปพิจารณาที่อื่น อย่างนั้นจึงเป็นกัมมัฏฐานแท้.."
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
..“ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ภารหาโร จ ปุคฺคโล” ขันธ์ทั้งห้านี้แลเป็นภาระอันหนักยิ่งกว่าภูเขาทั้งลูก เมื่อปล่อยวางขันธ์ทั้งห้านี้ได้ด้วยปัญญาอันชอบแล้ว ตัวเป็นผู้ดับสนิทซึ่งทุกข์ทั้งปวง หาอะไรเกิดขึ้นไม่ได้ภายในใจ ตั้งแต่บัดนั้นไป
นั่นแลท่านเรียกว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” คือ สุขล้วนๆ ไม่ได้สุขด้วยเวทนา แต่เป็นสุขในหลักธรรมชาติ เป็นสุขของจิตที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่สุขในสมมุติ เป็นสุขในวิมุตติ
จึง “ปรมํ สุขํ” นี่คือสารคุณอันสูงสุดยอด จะเรียกว่า “นิจฺจํ” หรือ “นิจธรรม” ธรรมเป็นของเที่ยง..
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก
ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนกับตำรับตำราหรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็ภาวนาไป
ให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ จิตของเราสงบเราจะรู้เอง
ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด
ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ
ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ แล้วพุทโธนั่นแหละ จะผุดขึ้นในจิตของเรา
เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง.....
เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมาย
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
"ถ้าไม่มีทุกข์ ก็ไม่ต้องปฏิบัติออกจากทุกข์
มันมีทุกข์ จึงปฏิบัติออกจากทุกข์
เราหนีทุกข์ หรือให้ทุกข์หนีจากเรา
เรารู้เท่าทุกข์ ทุกข์ก็หนีเอง
ถ้าเราไม่รู้เท่าทุกข์ ทุกข์ก็ไม่หนี"
หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
#รีบทำในสิ่งที่ควรทำ ในเวลาที่ควรรีบทำ อย่าประมาทจะได้ไม่พลาดประโยชน์อย่างสูงสุด
ท่านทั้งหลาย เวลาเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่อาจจะย้อนคืนได้ ดังนั้นแล้ว อย่าพลาดเวลาโดยเปล่าประโยชน์เลย พึงฉลาดกำหนดใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ด้วยมนสิการให้ดีเพื่อไม่ให้เสียเวลาที่ควรได้ประโยชน์ หลักในการมนสิการขอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาตามภาษิตของพระสัมภูตเถระ ท่านได้กล่าวไว้ ดังนี้
ผู้ใดรีบในเวลาที่ควรช้า และช้าในเวลาที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมประสบทุกข์ เพราะไม่จัดแจงโดยแยบคาย ประโยชน์ของเขาย่อมเสื่อมไป เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม เขาย่อมได้รับความตำหนิจากวิญญูชน และพลาดจากมิตรทั้งหลาย
ผู้ใดช้าในเวลาที่ควรช้า และรีบในเวลาที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นบัณฑิตย่อมประสบสุข เพราะจัดแจงโดยอุบายที่แยบคาย ประโยชน์ของเขา ย่อมบริบูรณ์ เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น เขาย่อมได้รับการยกย่องสรรเสริญ และไม่พลาดจากมิตรทั้งหลาย อ้างอิง : ขุ.เถร. (ไทย) 26/291-294/387
จากภาษิตของ พระสัมภูตเถระ ทำให้เราทราบว่า คนฉลาดจักมนสิการกำหนดเวลาใดควรช้า เวลาใดควรรีบ เพื่อไม่ให้พลาดประโยชน์ ดังนั้น เหล่าสานุศิษย์หลวงปู่สรวงทั้งหลาย เพื่อ พึงมนสิการ จัดแจงเวลาให้ดี แม้ว่ากำหนดมนสิการแล้วเกิดพลาดไม่ดีพอ ก็ให้แก้ไขปรับปรุง พยายามเข้าไว้จะได้ประโยชน์จากเวลาที่ได้ใช้แล้วสำเร็จประโยชน์
หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ท่านสอนให้เราทั้งหลายได้รู้จักการให้ทาน ดังที่ท่านสอนไว้ว่า
ออยเตียนสรูญ ให้ทานแล้วมีความสุข
ออยเตียนเมียนบาน ให้ทานรวยได้
หรือแม้แต่เรื่องการทำใจเป็น ท่านสอนไว้ว่า
เทอเจิตออยสรูญ ทำใจให้สบาย
เทอเจิตออยสะโลต ทำใจให้บริสุทธิ์
สานุศิษย์หลวงปู่สรวงทั้งหลาย เพราะเวลาสำคัญเช่นนี้ จึงชวนท่านได้ทำบุญ ชวนท่านรักษาศีล ชวนท่านภาวนา กำหนดปฏิบัติตามคำสอนของหลวงปู่สรวงด้วย คำสอนภาษิตของสาวกของพระพุทธเจ้าด้วย คำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย ซึ่งไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะเป็นธรรมดวงธรรมเดียวกัน ที่ผ่านมาได้แสดงไว้ให้ท่านได้ศึกษาต่อเนื่องมาตลอดผ่านเพจหลวงปู่สรวงนี้แล้วสามารถย้อนกลับไปอ่านได้เพื่อเรียนรู้และทบทวนนำไปประพฤติปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรม ตามที่ได้กำหนดมนสิการแล้วควรรีบหรือช้า ขอให้ใจทุกท่านได้คำตอบเองเถิด
ขออนุโมทนากับกุศลจิตเจตนาของทุกท่านที่ได้ร่วมกันศึกษาเรียนรู้ผ่านเพจหลวงปู่สรวง สื่อสมัยใหม่ที่รวดเร็ว ซึ่งมีคุณมาก หากใช้เป็นและมีโทษมากหากใช้ไม่เป็น ที่สำคัญเมื่อได้ศึกษาแล้วยังได้ร่วมกันให้ทานด้วย อันสำเร็จประโยชน์แก่วัดแก่ศาสนา เป็นการจรรโลงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาอย่างน่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง
พระอาจารย์อดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ
"ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ
ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว
ความอยากของใจจะพยายามหาทรัพย์
ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ
ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว
จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลก
เศษเดนและกองสมบัติเดนเท่านั้น
ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด
ความทุกข์ทรมาน ความอดทน
ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ
ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ
ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง
ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ
ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที"
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
"...สุขโลกีย์มีเพียงชั่วคราว ถ้ามุ่งความสุขยืนยาว ต้องปฏิบัติธรรม เหตุผลก็เพราะว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นที่อาศัยชั่วคราว ที่อยู่ยืนยาว คือ ปรโลกต่างหาก
โลกีย์ทรัพย์ กล่าวคือ รูป รส เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็พึ่งได้เพียงชั่วคราว
สิ่งที่จะใช้ยืนยาวคือ อริยทรัพย์ อันได้เเก่ศรัทธา ศีล หิริ โอตัปปะ พหุสัจจะ จาคะ เเละ ปัญญาในทางธรรมสำคัญกว่า.."
"..ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราได้เห็นจริงได้สัมผัสจริง
เพราะฉะนั้นความดีต้องทำในปัจจุบัน ทานก็ดี ศีลก็ดี
ภาวนาก็ดี ต้องทำเสียในปัจจุบันที่เรายังมีชีวิตอยู่
เราต้องการความดี ก็ต้องทำให้เป็นความดีในปัจจุบันนี้
ต้องการความสุข ต้องการความเจริญ
ก็ต้องทำให้เป็นไปในปัจจุบันนี้.."
"การชำระศีลไม่ใช่สิ่งเหลือวิสัย"
ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นนิยยานิกธรรม เป็นเครื่องถอนกิเลส โลภโกรธ หลง อวิชชา ตัณหาออกจากจิตได้ ศาสนาพุทธ ถ้าขาดศีลแล้วก็ยากที่จะเป็นไป สมาธิธรรมก็ไม่เกิด
ฉะนั้นจึงต้องชำระศีลให้ผ่องใส ไม่เหลือวิสัยดอก ถ้าเหลือวิสัยพระพุทธเจ้าคงไม่บัญญัติไว้ แม้พระอริยะเจ้าทั้งหลายก็คงจะไม่ปฏิบัติตามให้เสียเวลาสร้างโลก
"พระอาจารย์จันทา ถาวโร"
วัดป่าเขาน้อย จ.พิจิตร
การสำรวมระวังกายวาจาใจเรียกว่าศีล
ใจสงบเรียกว่าสมาธิ
อาการที่รู้ทันเมื่อมีอารมณ์มากระทบรู้ตามความเป็นจริงเรียกว่าปัญญา
อันธรรมดาเมื่อเราเก็บสิ่งของเช่นเพชรนิลจินดาไว้ เมื่อมีความกังวลใจมาก จิตใจเกิดความวุ่นวายจะหาของนั้นไม่พบ คิดไม่ออกว่าเก็บไว้ที่ไหน ความทุกข์จะเกิดขึ้น แต่ถ้าเราทำใจให้หายกังวล ตัดใจได้ว่าหายก็หายไป ถ้ามันไม่ใช่ของเราก็เป็นของยาก ทำใจให้สบายและสงบลง ก็จะนึกออกเองได้บ้าง ของนั้นที่เราเก็บไว้ในที่นั้นๆ เมื่อเรานึกได้รู้ได้ว่าอยู่ในที่นั้นๆ ทั้งๆที่เรายังไม่ได้ไปเอา ใจเราก็สบาย เพราะหมดความกังวลนั้นเอง ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีความสุขใจ
ผู้บรรลุธรรมนั้นเหมือนผู้ไปถึงบ้านการพูดธรรมเรียนธรรมนั้นไม่ใช่ผู้ถึงธรรมส่วนผู้ถึงธรรมหรือใจเป็นธรรม ย่อมต่างจากผู้พูดผู้เรียนธรรมนั้นๆ
พระพุทธองค์ทรงทำกิจเกี่ยวกับการสอนสัตว์โลกสองอย่าง คือ
เบื้องแรกจัดโลกให้สะอาดและมีระเบียบด้วยทานศีล
ขั้นที่สองขนนำสัตว์ออกจากโลก(ออกจากความโลภโกรธหลง)ให้ได้พบความสะอาดสงบสว่าง ด้วยการภาวนา
ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ แม้จะอยู่ในบ้านมันก็วุ่นวายอยู่เรื่อยๆ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า"ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไปนอกจากทุกข์หาอะไรเกิดอะไรดับมิได้นอกจากทุกข์”
การเห็นธรรม คือการเห็นความดับทุกข์ การดูโลกก็คือการดูท่อนไม้ ต้องดูให้รู้ปลายท่อนไม้ทั้งสองข้าง เมื่อเรารู้ที่สุดของท่อนไม้ท่อนนั้นทั้งสองข้างแล้ว เราจะหาท่ามกลางของท่อนไม้นั้นได้ ด้วยการวัดจากปลายทั้งสองข้างเข้ามา กึ่งกลางก็จะปรากฏเอง กึ่งกลางของท่อนไม้ไหนๆก็มีอยู่แล้วในท่อนไม้นั้น เราจะไปหาที่อื่นย่อมไม่พบ
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน ก็เหมือนกันกุศลธรรมธรรมอันขาว ได้แก่บุญอกุศลธรรมคือธรรมอันดำ ได้แก่บาปอัพยากตธรรมคือธรรมไม่ดำไม่ขาว ได้แก่พระนิพพานคือธรรมเป็นกลางๆ
ความดีใจความเสียใจคือปลายทั้งสองข้างล้วนแต่เป็นทุกข์ ให้เราพิจารณารู้เท่าทัน อย่าไปติดปลายทั้งสองข้าง ความทุกข์ก็จะลดลงได้ เมื่อเรารู้ศูนย์กลางของมัน ก็ต้องทิ้งปลายทั้งสองข้างเสีย เหมือนคนหาบของต้องหาบกึ่งกลางของไม้คานได้เอง ถ้าปล่อยให้หาบยื่นไปข้างหน้ามากเกินไป หรือยื่นไปข้างหลังมากเกินไป ก็จะหาบของไม่ได้ แต่ถ้าเลื่อนไปเลื่อนมาหาศูนย์กลางได้แล้ว ก็จะหาบไปได้อย่างสบาย
จิตใจของเราก็เหมือนกันถ้าปล่อยให้อารมณ์ชอบใจหรือไม่ชอบใจ เข้าสิงสู่มันก็เกิดทุกข์เมื่อเราดีใจก็ให้เหลือเผื่อ แผ่แขกที่จะมาใหม่คือความเสียใจบ้าง ถ้าเสียใจก็ให้เหลือเผื่อแผ่แขกที่จะมาคือความดีใจบ้าง อย่าเห็นแก่ปลายข้างเดียว มันจะเกิดความทุกข์ เราต้องรู้เท่าทันในความเห็นที่ถูกต้อง ในรูปนาม (ร่างกาย จิตใจ) พิจารณาจนรู้ปลายทั้งสองจนแน่ชัดแล้ว เราจะรู้ตรงกลางได้เอง
ความเห็นแก่ตัวไม่อยากตาย ให้คนอื่นตาย ร้อนก็ไม่อยากร้อน ให้คนอื่นร้อน เราอยากได้สุข คนอื่นจะทุกข์อย่างไรก็ช่าง ถ้าเจ็บให้คนอื่นเจ็บ เราเองไม่อยากเจ็บ เขาเรียกว่าคนเห็นปลายข้างเดียวมีดีติดดี มีชั่วติดชั่ว จึงต้องเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป ฉะนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาเพื่อให้เข้าถึงรู้ทันมันจะยืนเดินนอนนั่งหรือจะอยู่ที่ไหนๆก็มีสติพิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า ได้ปฏิบัติตามธรรมนั้น เช่นเรารักลูก รักจนหมด มีความรักเท่าไรมอบให้หมด รักผู้อื่น รักคนอื่นก็เหมือนกัน เขาเรียกว่าคนเห็นปลายข้างเดียวไม่รู้จักอนิจจังทุกขังอนัตตาเมื่อเรารักก็เหลือไว้เผื่อชังบ้างเมื่อชังก็เหลือไว้เผื่อรักบ้างเราต้องรู้ทันอารมณ์ อยู่เหนืออารมณ์คนหลงอารมณ์ก็คือคนหลงโลกคนหลงโลกก็คือคนหลงอารมณ์ พระพุทธองค์ที่ได้รับการยกย่องจากพุทธบริษัทว่า เป็นโลกวิทูผู้รู้แจ้งโลก ก็เพราะพระพุทธองค์รู้อย่างนี้เรามาฟังธรรม ก็เพื่อให้ตัวเราเป็นธรรมมีธรรมอยู่ในใจ ไม่หลงโลกหลงอารมณ์เป็นผู้เข้าถึงธรรมจึง จะมีความสุขความสบาย
อันผลไม้มีรสหวาน ภูเขามีป่าไม้เขียวชะอุ่ม เกิดความชุ่มชื่น เยือกเย็น ย่อมเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์และมนุษย์ พระอริยสงฆ์มีความดีทางกาย วาจา ใจ ตรง และตรงต่อศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเราปฏิบัติดี คือชอบกาย ชอบวาจา ชอบศีล สมาธิ ปัญญาเมื่อเราปฏิบัติตามก็ได้ชื่อว่าถึงพระสงฆ์แน่นอน
เราเกิดมาเห็นเขาทำเราก็ทำ ไม่รู้จักผิดถูก รับศีลก็ว่าตามพระบอก ไม่ทราบว่าคืออะไร เมื่อก่อนนี้พวกเราชาวบ้านพากันทำกระทงหน้าวัว เอาข้าวดำ ข้าวแดง กล้วย อ้อยมาทำพิธีส่งผีป่าหนี แต่ผีบ้านไม่มีส่งสักที เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ สาธุ! ขอให้คุณศีลคุณทานช่วยคนเอากายเข้าวัดแม้จะนั่งใกล้พระแต่จิตใจอยู่ไกล ทำอย่างนี้สัตว์ต่างๆ หมู หมา เป็ด ไก่ มันก็เอากายเข้ามาได้ มันจะไม่เข้าถึงธรรมเหมือนกันหรือ
การเข้าวัดมาหาพระแต่อย่าติดพระควรเข้าถึงธรรมซึ่งเป็นหลักของใจ เมื่อมีศีลชื่อว่าเป็นคนดี พวกวัวควายเราหัดได้ ไม่นานก็ใช้งานได้ คนเราหัดตั้งนานยังใช้ไม่ค่อยจะได้ ยังเป็นสัตว์อยู่ เพราะมันหนามาก เราต้องพิจารณาให้ลึกๆ การรักษาศีล ฟังธรรม จะทำให้เป็นผู้พบความสุข แต่เราเห็นว่ามันยาก ทำตามก็ยาก เพราะเรายังไม่พร้อมพระให้บุญขณะที่เรากำลังเป็นๆ มีชีวิตอยู่ยังไม่รับคอยจะรับ ละเห็นว่าเหมาะเวลาตายแล้วเพราะเรายังไม่เข้าใจลึกซึ้งยังหลงของที่ยังมีอยู่
วัวควายอ่านหนังสือไม่ออกก็น่าให้อภัย เป็นพวกอบายภูมิต่ำๆ ต้องพูดกันด้วยไม้ ด้วยแส้ ต้องตีต้องเฆี่ยน พระพุทธองค์สอนศีลธรรม ไม่ได้สอนแก่สัตว์เดรัจฉาน ท่านสอนสัตว์มนุษย์เรานี่เอง เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ นึกว่าเป็นของง่าย คิดว่าเป็นของง่าย คิดว่าตนเองจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์เสมอไป เพราะความหลงคนหนุ่มคนสาวยิ่งหลงในรูปเสียงกลิ่นรสอยู่มากวันหนึ่งๆ ต้องส่องกระจกดูหลายครั้งเพราะนึกว่าตนเองยังสวยแต่หารู้ไม่ว่าร่างกายมันเปลี่ยนแปลงไปทุกวินาที
การเข้าถึงธรรมนั้นย่อมทำให้กาย วาจา ใจ เป็นสุขสบาย เราไม่ทำอันตรายเขา เขาก็ไม่ทำอันตรายเรา คนอื่นๆก็ไม่ทำอันตรายแก่กันและกัน โลกนี้ยิ่งมีความสุขเพราะไม่เบียดเบียนกัน แต่เราไม่เห็นตามความเป็นจริงของไม่ดี ก็ว่าดีของไม่งามก็ว่างามของสั้นก็ว่าของยาวของไม่ยั่งยืนก็ว่ายั่งยืน ผู้สอนต้องหาอุบายมาสอนจนเหนื่อยอ่อน
"..ประโยชน์ตนคือทำความเพียร คือทำจิตให้สงบ เป็นสมาธิ
จิตมันดีแล้วให้มันสงบเป็นสมาธิ ครั้นมันเป็นสมาธิแล้ว ทำให้มันแน่วแน่มีอารมณ์อันเดียว
แล้ว ก็จิตนั่นแหละ มันจะเป็นดวงปัญญาขึ้นมา มันจะส่องแสง มันมีกระแสจิตพุ่งออกมา พิจารณากายอีก ซ้ำอีก มันก็จะเห็นชัด
ครั้นมันสงบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ให้พิจารณาสัจของจริงทั้งสี่ สัจธรรมของจริง ของจริงของดีพระพุทธเจ้า ของพระสาวกผู้ได้ยินได้ฟังแล้วเห็นจริงอย่างนั้น
จริงอย่างไร ดีอย่างไร ดีเพราะว่าเหมือนดังพระสาวก ท่านทั้งหลายเบื้องต้นก็เป็นปุถุชนนี่แหละ เมื่อได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณาตามเห็นตาม เห็นแล้วเกิดนิพพิทาในเบญจขันธ์ว่า มันไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงของใช้ ไม่ใช่ของเรา
นี่แหละเห็นจริงชัดแล้ว ก็ละถอนปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่น ทำให้ปุถุชนเป็นพระอริยเจ้าได้ จึงว่าของจริง.."
ราเกิดมาแล้วต้องพิจารณาให้มากๆ เห็นเขาทำนาบนดิน ตัวเองก็คิดว่าจะทำได้ เขาทำไร่บนดินก็เช่นกัน แต่ว่าดินนั้นมันต่างกัน ที่ดินเรากับที่ดินเขาที่ทำไร่ย่อมมีลักษณะแตกต่างกัน ผู้จะทำต้องเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดินนี้ แต่ก่อนเราทำบุญอุทิศ นิยมทำต้นดอกผึ้ง ทำแล้วต้องมีของเสมอกัน มีสุราอาหารและของที่ต้องผลาญชีวิตสัตว์อื่นๆ ทำแล้วคิดว่าจะได้บุญ เหมือนลิงถวายรวงผึ้งแก่พระพุทธเจ้า แต่ลิงป่ากับลิงบ้านทำบุญต่างกัน ตัวหนึ่งไม่ได้ฆ่าเอาเนื้อมาทำบุญ แต่พวกหนึ่งฆ่าเขาเอามาทำบุญ มันจึงมีผลต่างกัน ลิงป่าทำทานแล้วไปสวรรค์ แต่ลิงบ้านทำแล้วไปนรก เพราะความหลงเข้าใจผิด
การพิจารณาร่างกายพิจารณาถึงความตายจะเป็นการผ่อนคลายความโลภความโกรธและความหลงลงได้บ้าง เพราะเรากลัวตายจึงไม่ค่อยพิจารณากัน ถ้าใครพูดถึงความตายก็ห้ามไว้ ฉะนั้นพวกเราจึงพากันเข้าแถวเดียวกัน ตายอยู่อย่างนี้หลายพันชาติ ธรรมะเป็นของเยือกเย็นทำใจให้สงบส่วนเงินทองข้าวของเป็นของร้อน มีแล้วก็อยากซื้อสิ่งนั้นสิ่งนี้ทำใจให้เกิดความวุ่นวายมีทุกข์ แต่ศีลธรรมนำโลกให้สะอาด เบา สบาย ขนสัตว์ออกจากเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ ศีลคือความสะอาด ธรรมะ คือการขนออกจากของสกปรก เพราะตามธรรมดา เราเมื่อดีใจก็คอยความเสียใจตามมาเสียใจก็คอยความดีใจตามมา มันกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้
เราเกิดมาแม้ยังหนุ่มสาวก็อย่าประมาท คิดว่าตนยังไม่แก่ ควรพิจารณาถึงความตายเอาไว้บ้าง ความจริงแก่มาตั้งแต่เราเกิดทีแรก เหมือนกับคนหิวกินอาหารมันก็เริ่มอิ่มมาตั้งแต่คำแรกนั่นแหละ แต่คนมีความหิวมากกินด้วยความโลภจึงมองไม่เห็น คิดว่าตนยังไม่อิ่ม เช่นคนมีผมแซมขาวปนดำ ใกล้ความตายเข้าไปทุกวัน เหมือนกับเรือที่จวนจะล่มสู่ก้นแม่น้ำนั่นเอง ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ตายทั้งนั้น เป็นคนใกล้ความเป็นเทวดาหรือเปล่า? เราพิจารณาบ่อยๆจะเกิดความรู้ จะทำให้ตนมีความสุขความสบาย ปราศจากความเดือดร้อนทั้งกายและใจ
"..การที่พวกเราทั้งหลายออกจากบ้านมาสู่ป่า ก็คือมาสงบอารมณ์ หนีออกมาเพื่อสู้ ไม่ใช่หนีมาเพื่อหนี ไม่ใช่เพราะแพ้เราจึงมา คนที่อยู่ในป่าแล้วก็ไปติดป่า คนอยู่ในเมือง แล้วก็ไปติดเมืองนั้น เรียกว่า คนหลงป่า คนหลงเมือง
พระพุทธเจ้าท่านว่า ออกมาอยู่ป่าเพื่อกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวกต่างหาก ไม่ใช่ให้มาติดป่า มาเพื่อฝึก เพื่อเพาะปัญญา มาเพาะให้เชื้อปัญญามันมีขึ้น อยู่ในที่วุ่นวาย เชื้อปัญญามันเกิดขึ้นยาก จึงมาเพาะอยู่ในป่า เท่านั้นเอง เพาะเพื่อจะกลับไปต่อสู้ในเมือง
เราหนีรูป หนีเสียง หนีกลิ่น หนีรส หนีโผฏฐัพพะ หนีธรรมารมณ์ มาอย่างนี้ ไม่ใช่หนีเพื่อจะแพ้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้หนีมาเพื่อฝึก หรือมาเพาะให้ปัญญาเกิด แล้วจะกลับไปรบกับมัน จะกลับไปต่อสู้กับมันด้วยปัญญา
ไม่ใช่เข้าไปอยู่ในป่าแล้ว ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็สบาย ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องการจะมาฝึก เพาะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้นในป่า ในที่สงบ เมื่อสงบแล้ว ปัญญาจะเกิด
เมื่อใคร่ครวญพิจารณาแล้ว ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อเราก็เพราะเราโง่เรายังไม่มีปัญญา แต่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้คือครูสอนเราอย่างดี
เมื่ออยู่ในป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามานี้เพื่อมาทำให้ปัญญาเกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นเป็นปฏิปักษ์กับเราเป็นข้าศึกของเรา
ถ้าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว.."
"...ท่านบอกว่า อยู่ในกายของเรานี้แหละ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันนี้เป็นอาจารย์ของเรา ให้ความเห็นแก่เราอยู่แล้ว
แต่เราขาดการภาวนา ขาดการพิจารณา..."
"..กิเลสนี้ ผู้ที่มีสติปัญญา ผู้ที่มีธรรมะ ท่านขยะแขยง ท่านกลัวมาก กลัวยิ่งกว่าสิ่งทั่วไป เพราะโรคอันที่เป็นโรคของกายนั้น เรารักษาไม่หายตายมันก็หมดไป ไม่เป็นพิษเป็นภัย รักษาไม่หายมันก็ไปแค่ถึงตายเท่านั้น ไม่เลยนั้นไป
แต่เรื่องกิเลสตัณหาซึ่งสิงซ่อนอยู่ในจิตในใจ ถ้าเราไม่ละ ไม่แก้ไข ไม่บำเพ็ญให้เห็น ให้รู้ ให้หลุด ให้พ้นไปแล้ว เราตายไปก็สักแต่ว่ากายตายไป จิตใจที่ยังมีกิเลสตัณหานั้น จะก่อภพก่อชาติใหม่ แล้วจะยุ่งเหยิงวุ่นวาย รบกวนตัวเองอยู่เรื่อยไป
ท่านจึงกลัวมากกว่าเรื่องโรคของกาย ผู้ที่เห็นกิเลสตัณหาเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่าเบื่อหน่าย ท่านจึงตั้งหน้าตั้งตา ภาวนาหาทางที่จะแก้ไขใจที่ชั่วที่เสียนั้น ๆ ให้หลุดให้ตกออกไป ด้วยอุบายวิธีธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้.."
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
"..การคิดถึงความดี เป็นการบริหารจิตโดยตรงที่สุด
เพราะจะทำให้จิตใจของผู้คิดใสสว่าง
ว่าง จากความรู้สึกนึกคิดในด้านรุนแรงขุ่นมัวเศร้าหมอง
ใจที่สว่างจากความรู้สึกมัวหมองดังกล่าว
เป็นใจที่มีค่าควรเป็นที่พึงปราถนาอย่างยิ่ง.."
"ผู้มีปัญญา...จึงเป็นผู้มีจิตสงบ
แม้ปรารถนาจะเป็นผู้มีปัญญา พึงทำใจให้สงบ
คือ สงบจากความโลภ ความโกรธ ความหลง
ปรารถนาเป็นผู้มีปัญญาเพียงไร พึงทำให้สงบเพียงนั้น
อีกนัยหนึ่งก็คือ ทำใจให้สงบได้เพียงใด
ก็จะสามารถอบรมปัญญาให้ยิ่งขึ้นได้เพียงนั้น"
สมเด็จพระญาณสังวรฯ
ทาน นั้นเป็นปัจจัยตัดโลภะ ความโลภ เป็นก้าวหนึ่งที่จะถึงนิพพาน
ศีล เป็นเหตุตัดโทสะ ความโกรธ เป็นก้าวที่สองที่จะทำให้ถึงนิพพาน
ภาวนา เป็นตัวตัดกิเลสตัวสำคัญทั้งใหญ่และเล็ก เป็นปัจจัยให้กิเลสหมดจริง เข้าถึงนิพพานแน่นอน
แล้วทั้ง ๓ อย่างนี้ จะถืออะไรสำคัญกว่ากันไม่ได้เลย ต้องถือว่าสำคัญเท่ากัน ถ้าเราขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจะถึงนิพพานไม่ได้
“..ถ้าจำเป็นจะต้องทำลายศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง
ก็ต้องถือว่า เรามีความจำเป็นจริงๆ
ที่จะไปพระนิพพานยังไม่ได้ ต้องลงนรกก่อน เตือนไว้นะ
เพราะศีล ๕ แต่ละข้อ ถ้าผิดข้อไหนก็ตาม
เปิดโอกาสลงอบายภูมิทั้งหมด..”
"..เราเกิดมาเพื่อประสบกับ ความทุกข์
คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มี
ถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา
ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเรา
อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด..
เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่า อุปาทาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม 8 ประการ คือ
มีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไปเสียใจ
มียศดีใจ ยศสลายตัวไปเสียใจ
มีความสุขในกามดีใจ ความสุขหมดไปร้อนใจ
ได้รับคำนินทาเดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญมีสุข
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเรา
ใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า..
ทุกข์นี้ เป็นกฎธรรมดาของโลก.."
ตัวนี้เป็นสำคัญ ตัวจิตนึกถึงความตาย
ถ้าเป็นสมถะเรียกว่า " มรณานุสสติ "
ถ้าวิปัสสนาญาณเขาเรียกว่า " สักกายทิฏฐิ " ใช่ไหม เป็นสังโยชน์
พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำว่าทุกคนให้นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ตัวนี้ต้องยืนตัว ถ้าไอ้ตัวนี้ไม่ยืนตัวอะไรก็ไม่ได้ ถ้าตายทุกคนก็ต้องตาย ไอ้คนที่จะไม่ตายไม่มี
แล้วถ้าเรายังเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด มันจะเกิดเพื่อประโยชน์อะไร ใช่ไหม เราตายคราวนี้ให้มันตายเป็นครั้งสุดท้าย เราจะไม่เกิดต่อไปอีก
ทำยังไงจะไม่เกิดต่อไป ?
เราก็ไม่ต้องการร่างกายนี้ซิ ไอ้คำว่าไม่ต้องการไม่ใช่ตัดผลุนผลันไปเลยนะ คำว่าไม่ต้องการคือค่อยๆคิด ค่อยๆปลด แต่หน้าที่มีเท่าไหร่ทำให้ครบถ้วน แต่ทว่าทำแล้วก็คิดไปเลยว่า ไอ้งานประเภทนี้จะมีชาตินี้เป็นชาติสุด้าย ชาติต่อไปไม่มีอีก
วิธีตัดเขาตัดแบบนี้นะ ไม่ใช่ตัดแบบวางมันส่งเดช ข้าวปลาไม่กิน ขี้เข้อก็ปล่อย ไม่กินข้าวพอทนไหว ไอ้ขี้นี่มันยุ่ง (หัวเราะ)
(หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง ตอบปัญหา ธัมมวิโมกข์ กันยายน 2545)
"..อย่าทะนงตน คิดว่าเราเป็นคนดี
ถ้าคิดว่าดีเป็นผู้วิเศษเมื่อไร
เมื่อนั้นแหละกรรมใหญ่ อันตรายใหญ่จะมาถึงท่าน
ที่เราเรียกกันว่าความประมาท.."
"..มองตัวเองให้มากจึงจะเป็นคนดีได้ มัวแต่มองท่านผู้อื่นแล้วไซร้ ก็กลายเป็นคนพาลไปไม่รู้ตัว เพราะนิสัยคนพาล
ย่อมเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวัตร โบราณท่านกล่าวว่า อุจจาระของตน นั่งดมอยู่ก็พอดมได้ อุจจาระท่านผู้อื่นเล่า
มากระทบจมูกเข้าก็เกิดเป็นพิษเป็นภัยขึ้น.."
"..ให้หมั่นเพ่งโทษของตนไว้เนืองๆ และแก้ไขสิ่งที่ชั่วให้กลับเป็นดี พระพุทธเจ้าทรงตรัสข้อนี้ว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
คือทำมนุษย์ให้เป็นเทวดา ทำเทวดาให้เป็นพรหม ทำพรหมให้เป็นอริยะ..."
หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
"..อานุภาพแห่งบุญกุศลนี้ มันเป็นไปเพื่อความสงบ
เพราะฉะนั้นผู้ใดมีบุญมากขึ้นมาแล้ว
ก็สงบ ไม่ชอบวุ่นวาย นี่เป็นลักษณะของผู้มีบุญมาก
เราต้องเอาเรื่องนี้แหละ เป็นเครื่องวัด
จะเอาแต่เอาแต่เงินแต่ทอง ข้าวของมากมายนั้น
มาเป็นเครื่องวัด ว่าเป็นคนมีบุญมากอย่างนั้น
ดูจะไม่ถูกเท่าไรนัก แต่ก็มีถูกอยู่บ้าง
แต่ถ้าจะให้ถูกตรงๆ จริงแล้วมันต้องหมายเอาบุคคล
ผู้ที่เบื่อหน่ายต่อความวุ่นวาย ต่อความเละเทะต่างๆ
ในโลก แล้วก็ยินดีแสวงหาความสงบทางจิตใจ
นี่อันนี้จึงเป็นที่แน่นอนว่า เป็นคนมีบุญมากจริง.."
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
"..คนเราที่จะเกิด กามราคะ เป็นต้นขึ้น
ก็เกิดที่กายและใจ
เพราะตาไปแลเห็นกายทำให้ใจกำเริบ
เหตุนั้นจึงได้ความว่ากายเป็นเครื่องก่อเหตุ
จึงต้องพิจารณาที่กายนี้ก่อน
จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ทำใจให้สงบได้
ณ ที่นี้พึงทำให้มาก เจริญให้มาก
คือพิจารณาไม่ต้องถอยเลยที่เดียว.."
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
"..การตายนั้น นักปราชญ์บัณฑิตท่านเห็น
เหมือนกับว่า เป็นการแก้ผ้าขี้ริ้วออก
โยนทิ้งไปจากตัวเท่านั้น
จิตก็เหมือนกับตัวคน กายก็เหมือนกับเสื้อผ้า
ไม่เห็นว่าเป็นการสลักสำคัญอะไรเลย
แต่พวกเรานี่สิกลัวนัก พอเห็นเสื้อผ้าขาดนิด
ขาดหน่อย ก็รีบหาอะไรมาปะมาเย็บ
ให้มันติดต่อเข้าไปใหม่
ยิ่งปะยิ่งเย็บ มันก็ยิ่งหนา ยิ่งหนาก็ยิ่งอุ่น
ยิ่งอุ่นก็ยิ่งติด ยิ่งติดก็ยิ่งหลง
ผลที่สุดเลยไปไหนไม่รอด.."
"..ผู้ใดตั้งใจอยู่ในเมตตาภาวนา เจริญสมาธิเป็นอารมณ์อยู่เสมอแล้ว ก็เท่ากับผู้นั้นได้สร้างพระไว้ในจิตในใจของตนเอง ย่อมจะมีผลดีตลอดชาติ.."
"... จิตใจเป็นภาชนะของความดีทั้งหลาย
เมื่อใจบริสุทธิ์สะอาดแล้ว จะทำบุญกุศลส่วนใด
ภายนอกก็เจริญสุขได้จริง
กุศลภายนอกก็เหมือนแกงที่มีรส แต่ถ้วยชามสกปรกแล้ว
แม้แกงอร่อยอยู่ ผู้ที่จะกินอาหารนั้นดูจะไม่ใคร่อิ่มเพราะสกปรก
ถ้าภาชนะใส่แกงสะอาด แกงก็มีรสแล้ว
ผู้บริโภคดูจะต้องกินอย่างสนิทสนมที่เดียว
นี้ฉันใด ใจที่สะอาดแล้ว ทำบุญกุศลทั้งหลาย
ภายนอกก็จะดูดดื่ม กล้าสละได้ทุกเวลา
เกิดรสแห่งกุศลประจำใจเสมอ ใช่แต่เท่านั้น
ยังจะต้องเป็นทางพ้นทุกข์ ถึงนิพพานเป็นที่สุด.."
"..จะรู้จะเห็นอะไร ก็ให้สักแต่ว่ารู้ ไม่ให้เป็นไปตามเขา
จิตดั้งเดิมของเรามันไม่มีอะไร มันรู้อยู่ทุกอย่างอยู่แล้ว แต่พอมีสิ่งต่างๆมาสัมผัสทั้งภายนอกภายใน ก็ทำให้เราเผลอสติปล่อยตัวรู้ ลืมตัวรู้ที่มีอยู่ดั้งเดิมเสีย
ไปรับสิ่งที่เอามาทีหลังแล้วก็ทำไปตามเขา คือ เป็นสุขเป็นทุกข์ อะไรต่างๆ
ที่เราเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าเราไปรับเอาสิ่งสมมติต่างๆ เข้ามายึดมั่นถือมั่น
ถ้าเราจะไม่ให้เป็นไปตามสิ่งต่างๆ เราก็ต้องรักษาตัวรู้ดั้งเดิมของเราไว้ให้ตลอด ตัวสติ ต้องมีไว้มากๆ.."
เมื่อมีสติแล้ว อะไรจะมาผูกมัดไม่ได้ ถ้ามีสติอยู่ทุกเมื่อ มันก็ไม่หลงใหล นั่นแหละมารไม่สามารถจะมองเห็นได้
ตัวมาร คือ ไม่มีสติ ตัวมาร คือ ความลุ่มหลง คือ ความประมาท
เพลิดเพลินในกามคุณทั้งห้า อันมี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัสกาย) เป็นดอกไม้ของมาร
เมื่อไปชมดอกไม้ มันก็ดักเอาตรงนั้นน่ะซี
ตาเห็นรูป มารก็ไปดักเอาตรงนั้น มีความยินดีพอใจ หลงมัวเมาประมาท ตรงนั้นแหละไปถูกบ่วงมารแล้ว
หูได้ยินเสียง มันก็ดักเอาตรงนั้น ที่ชอบใจไม่ชอบใจอะไรต่างๆ ถูกบ่วงหมด
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งหมดทั้งดีและชั่ว เรียกว่าถูกบ่วงมารทั้งนั้น
เราทุกคนไม่มี “สติ” ได้ชื่อว่า ถูกบ่วงของมารแล้ว
"สติลม"
"ลม" ทุกส่วนของร่างกาย ย่อมแล่นถึงกัน สามารถที่จะหายใจได้ทุกขุมขน คือ ไม่ต้องใช้ "ลมหายใจ" ทาง "จมูก" เพราะลมหายใจกับลมส่วนอื่นเป็นพื้นเดียวกันหมด
ลมเต็ม ลมเสมอกัน ธาตุทั้ง ๔ มีลักษณะอย่างเดียวหมด จิตสงบเต็มที่ ความเพ่งก็แรง แสงก็แจ่ม เป็น "มหาสติปัฏฐาน"
อาศัย "ความเพ่ง" แห่ง "สติ" ความเพ่งก็แรง เรียกได้ว่า "มหาสติปัฏฐาน" ธรรม ๔ ประการ "ไม่แตกแยกกัน" "รวมเข้า" เป็น "อันหนึ่ง" อันเดียวกัน
เป็น "สามัคคีธาตุสามัคคีธรรม" โดยสมบูรณ์ ที่เรียกว่า "เอกายมรรค" อำนาจอันเกิดขึ้น จากการ "ปล่อยวาง" "อารมณ์ต่าง ๆ"
"ดวงจิต" ก็มีกำลัง "ตั้งอยู่โดยลำพัง" เด่นเป็น "อิสระ" (จิตหนึ่ง)
ธรรม ๔ ประการ "ไม่แตกแยกกัน" "รวมเข้า" เป็น "อันหนึ่ง" อันเดียวกัน หมายถึง "อริยสัจจ ๔" รวมกันเข้าเป็น "จิตหนึ่ง" ด้วยความ "เพ่ง" แห่ง "สติ" "อริยมรรค" หรือ เอกายมรรค" เกิดขึ้น จิตปล่อยวาง "อารมณ์" ต่างๆ "ดวงจิต" หรือ "จิตหนึ่ง" ตั้งอยู่โดยลำพังแต่เพียงผู้เดียว
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
"ถามใจตัวเองทุกข์หรือสุขมากกว่ากัน"
ก็ลองมาพิจารณาถามใจตัวเองแล้วว่าการที่มาอาศัยอยู่ในโลกอันนี้นะ เป็นยังไงอะ มีความสุขมากกว่ามีความทุกข์ หรือว่ามีทุกข์มากกว่าสุข นี่เมื่อมาคำนวณลงในปัจจุบันนี้แล้วนะ เราจะรู้ได้เลยล่ะว่า มันมีทุกข์นั่นล่ะมากกว่าความสุขเลยการอาศัยอยู่ในโลกอันนี้นะ
หมายความว่า อาศัยอยู่ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ใจก็ยึดถือเอาไว้ด้วยความหลง ด้วยความอยาก อันส่วนร่างกายนี้ก็ถูกแล้ว อาศัยปัจจัย ๔ ก็จึงเป็นอยู่ได้ ส่วนจิตใจนั้นก็อาศัยอวิชชาตัณหาทำให้ใจยึด เกาะโลกอันนี้ไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วมันเป็นสุขมากกว่าหรือเป็นทุกข์มากกว่ากัน เราก็ต้องตอบตัวเองได้ทันทีเลยแหละ มันต้องเป็นทุกข์มากกว่าเป็นสุขแน่นอน
"พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ"
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
"ความดีที่ทำไว้ช่วยแก้ไขหนักเป็นเบาได้"
จิตใจของคนและสัตว์ทั่ว ๆ ไปเป็นเช่นนี้ เมื่อทำแล้วผลก็หลั่งไหลเข้ามาสู่ตัวเหตุที่เป็นจุดแห่งการกระทำนั้นแล เวลาตายไปแล้วไปอยู่ที่ไหน จิตไม่ตาย ธรรมชาติเหล่านั้นก็ติดจิตไป ร่างกายแตกสลาย ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เรียกว่าร่างกาย ๆ นี้สลายตัวลงไปจากส่วนผสม
แต่จิตกับวิบากของจิตดีชั่วไม่ได้สลาย มีอยู่ที่จิต จิตดวงนี้จึงไปเกิดตามสถานที่ให้ไปเกิด ตามความแน่นอนของใจไม่ได้ ต้องไปเกิดตามความแน่นอนของกรรมเท่านั้น กรรมมี กรรมดีกรรมชั่ว ถ้าเราได้ทำความชั่วเอาไว้มาก กรรมชั่วก็เป็นเจ้าของของจิตใจนั้น พาใจไปเกิดในสถานที่ไม่พึงปรารถนา
ความไม่พึงปรารถนาจะอยู่ในสถานที่ใดภพใดก็ตาม "ย่อมเป็นความทุกข์ความลำบากทั้งนั้น ใจจึงไม่ปรารถนา" เพราะเป็นทุกข์เป็นร้อน มีมากมีน้อยเพียงไร ก็เผาผลาญจิตนั้นแหละให้ได้รับความลำบากลำบน
ถ้าจิตได้สร้างความดีเอาไว้ เมื่อมีทุกข์มาก็เหมือนกับมียาแก้ เมื่อเกิดโรคก็มียาแก้ มีทุกข์ขึ้นมาก็มีบุญเข้าไปแก้ไข พอผ่อนหนักผ่อนเบากันไปได้ .
" คนฉลาดย่อมรู้จัก
การสร้างบุญทาน
ให้เหมาะสมกับฐานะของตน
และทำโดยสม่ำเสมอ
ควบคู่ไปกับการสำรวม
กาย วาจา ใจ ให้อยู่ในศีลธรรม"
"พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน"
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
"..ชำระใจให้ปราศจากความโลภ โกรธ หลง
มันก็ถึงเองแหละนิพพาน
ไม่ใช่ปากก็บอกจะไปนิพพาน
แต่ไม่ชำระโลภ โกรธ หลงให้ขาดไป
อธิษฐานยังไงมันก็ไม่ถึงนะแก
นิพพานเข้าไม่ได้ด้วยการอธิษฐาน
แต่ต้องอาศัยการปฏิบัติ ซึ่งจุดสำคัญคือการ
ละอารมณ์ โลภ โกรธ หลง ละได้เมื่อไหร่ถึงทันที
ละไม่ได้มันจะถึงแค่หัวตะพาน..."
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
"..ตาเห็นรูป
ธรรมดาใครๆ ก็ต้องการดูแต่ที่สวยๆ
เพื่อให้เกิด ความเพลิดเพลิน เจริญตาเจริญใจ
ซึ่งกาม สัตว์ทั่วไปปรารถนาอยู่แล้ว
แต่ผู้เห็นโทษแล้ว กลับเห็นความเพลิดเพลิน
นั้นเป็นความหลงใหลไร้สาระ
อย่าว่าแต่ถึงกับเพลิดเพลินเลย
แม้ขณะที่จิตแล่นออกไปจากความเป็นหนึ่งของจิต
ก็เห็นเป็นภัยอันใหญ่หลวงแล้ว.."
"ฟังธรรมทุกเวลา"
การฟังธรรมนั้น ความจริงธรรมนั้นมีอยู่ทั่วไป ถ้าใจเราตั้งมั่นเป็นสมาธิภาวนา อะไรๆ ก็เป็นธรรมเป็นพระธรรมพระวินัยทั้งนั้นแหละ การฟังธรรมจึงไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลากาลเวลาที่เราดังนี้เรียกว่าเป็นเวลาเป็นระยะ
แต่ถ้าตัวเองสอนตัวเองฟังธรรมอยู่ในตัวเราแล้ว ธรรมมีอยู่ทุกเวลา นั่งก็ภาวนาได้ ยืนก็ภาวนาได้เดินก็ภาวนาได้ ไปรถไปราก็ภาวนาได้
เวลาไปรถไปราให้ภาวนาตายไว้ล่วงหน้า มรณํ เม ภวิสฺสติ (ความตายจักมีแก่เรา) ความตายอยู่ที่ความประมาท ผู้ใดประมาทเปรียบเหมือนคนตายแล้ว
คนตายแล้วทำอะไรไม่ได้ ผู้ประมาทมัวเมาเข้าใจผิดคิดหลงลืมภาวนา พุทโธ ในใจ ลืมพิจารณาสังขาร ร่างกาย รูปธรรม นามธรรมของตัวเอง และของบุคคลผู้อื่น ขึ้นชื่อว่า รูป นามกาย ใจ ตัวตน สัตว์ บุคคล ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดกาล
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ "อุบายแห่งวิปัสสนา"
ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี มีอุปมาดังดอกบัวปทุมชาติอันสวย ๆ งาม ๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรกปฏิกูล น่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชาอุปราชอำมาตย์ และเสนาบดีเป็นต้นและดอกบัวนั้น ก็มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมอีกเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้า ผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม ย่อมพิจารณาซึ่งสิ่งสกปรกน่าเกลียด จิตจึงพ้นสิ่งสกปรกน่าเกลียดได้ สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นก็คือตัวเรานี้เอง
ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครก คือ อุจจาระ ปัสสาวะ (มูตร คูถ ทั้งปวง)สิ่งที่ออกจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่าขี้ทั้งหมด เช่น ขี้หัวขี้เล็บ ขี้ฟัน ขี้ไคล เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มี แกง กับ เป็นต้นก็รังเกียจต้องเททิ้งกินไม่ได้ และร่างกายนี้ต้องชำระอยู่เสมอจึงพอเป็นของดูได้ถ้าหากไม่ชำระขัดสีก็จะมีกลิ่นเหม็นสาบ เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ ของทั้งปวงมีผ้าแพรเครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่ออยู่นอกกายของเรา ก็เป็นของสะอาดน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้ว ก็เป็นของสกปรกไป เมื่อปล่อยไว้นาน ๆ เข้าไม่ซักฟอก ก็จะเข้าใกล้ใครไม่ได้เลย เพราะเหม็นสาบ ดังนี้จึงได้ความว่าร่างกายของเรานี้เป็นเรืองมูตร เรือนคูถ เป็นอสุภะของไม่งามปฏิกูลน่าเกลียดเมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นปานนี้ เมื่อชีวิตหาไม่แล้วยิ่งจะสกปรกหาอะไรเปรียบเทียบมิได้เลย
เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายจึงมาพิจารณาร่างกายอันนี้ให้ชำนิชำนาญด้วยโยนิโสมนสิการ ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว คือขณะเมื่อยังเห็นไม่ทันชัดเจนก็พิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งกาย อันเป็นที่สบายแก่จริต จนกระทั่งปรากฏเป็นอุคคหนิมิต คือปรากฏส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วก็กำหนดส่วนนั้นให้มากเจริญให้มาก ทำให้มาก การเจริญทำให้มากนั้น พึงทราบอย่างนี้ ชาวนาเขาทำนาเขาก็ทำที่แผ่นดิน ไถที่แผ่นดิน ดำลงไปในนา ไถที่แผ่นดินดำลงไปในดิน ปีต่อมาเขาก็ทำที่ดินอีกเช่นเคย เขาไม่ได้ทำในอากาศ กลางหาว คงทำแต่ที่ดินแห่งเดียวข้าวเขาก็ได้เต็มยุ้งเต็มฉางเอง เมื่อทำให้มากในที่ดินนั้นแล้ว ไม่ต้องเรียกว่าข้าวเอ๋ยข้าว จงมาเต็มยุ้งเน้อ ข้าวก็หลั่งไหลมาเอง และจะห้ามว่า ข้าวเอ๋ยข้าวจงอย่ามาเต็มยุ้งเต็มฉางเราเน้อ ถ้าทำนาในที่นั่นเองจนสำเร็จแล้ว ข้าวก็จะมาเต็มยุ้งเต็มฉางฉันใดก็ดี พระโยคาวจรเจ้าก็ฉันนั้น คงพิจารณากายในที่เคยพิจารณาอันถูกนิสัย หรือที่ปรากฏให้เห็นครั้งแรก อย่าละทิ้งเลยเป็นอันขาด การทำให้มากนั้น มิใช่หมายแต่ว่าการเดินจงกรมเท่านั้น ให้มีสติ หรือพิจารณาในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ คิด พูด ก็ให้มีสติรอบคอบในกายอยู่เสมอจึงจะชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อพิจารณาในร่างกายนั้นจนชัดเจนแล้ว ให้พิจารณาแบ่งส่วนแยกส่วนออกเป็นส่วน ๆ ตามโยนิโสมนสิการของตน ตลอดจนกระจายออกเป็น ธาตุดิน ธาตุน้ำธาตุไฟ ธาตุลม แลพิจารณาให้เห็นไปตามนั้นจริง ๆ อุบายตอนนี้ตามแต่ตนจะใคร่ครวญออกอุบายตามที่ถูกจริตนิสัยของตน แต่อย่าละทิ้งหลักเดิมที่ตนได้รู้ครั้งแรกนั่นเทียว พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก อย่าพิจารณาครั้งเดียว แล้วปล่อยทิ้งตั้งครึ่งเดือน ตั้งเดือน ให้พิจารณาก้าวเข้าไปถอยออกมา เป็นอนุโลมปฏิโลม คือเข้าไปสงบในจิตแล้ว ถอยออกมาพิจารณากายอย่าพิจารณากายอย่างเดียวหรือสงบที่จิตแต่อย่างเดียว พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญแล้วหรือชำนาญอย่างยิ่งแล้ว คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเอง คือจิตย่อมจะรวมใหญ่ เมื่อรวมพึบลงย่อมปรากฏว่าทุกสิ่งรวมลงเป็นอันเดียวกัน คือหมดทั้งโลกย่อมเป็นธาตุทั้งสิ้น นิมิตจะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่า โลกนี้ราบเหมือนหน้ากลองเพราะมีสภาพเป็นอันเดียวกัน ไม่ว่าป่าไม้ ภูเขา มนุษย์ สัตว์ แม้ที่สุดตัวของเราก็ต้องล้มราบเป็นที่สุดอย่างเดียวกัน พร้อมกับ "ญาณสัมปยุต คือรู้ขึ้นมาพร้อมกันในที่นี้ตัดความสนเทห์ในใจได้เลย" จึงชื่อว่า "ยถาภูตญาณทัสสนวิปัสสนา คือทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริง"
ขั้นนี้เป็นเบื้องต้นในอันที่จะดำเนินต่อไป ไม่ใช่ที่สุด อันพระโยคาวจรเจ้าจะพึงเจริญให้มาก ทำให้มาก จึงจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งอีกจนรอบจนชำนาญ เห็นแจ้งชัดว่าสังขารความปรุงแต่งอันเป็นความสมมติว่า โน่นเป็นของเรา นั่นเป็นของเรา เป็นความไม่เที่ยง อาศัยอุปาทานความยึดถือจึงเป็นทุกข์ ก็แล ธาตุทั้งหลาย เขาหากมีความเป็นอยู่อย่างนี้ ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้นเสื่อมไปอยู่อย่างนี้มาก่อนเราเกิดตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ก็เป็นอยู่อย่างนี้ อาศัยอาการของจิตของขันธ์ ๕ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไปปรุงแต่งสำคัญมั่นหมายทุกภพทุกชาติ นับเป็นอเนกชาติเหลือประมาณ มาจนถึงปัจจุบันชาติ จึงทำให้จิตหลงอยู่ตามสมมติ ไม่ใช่สมมติมาติดเอาเรา เพราะธรรมชาติทั้งหลายทั้งหมดในโลกนี้ จะเป็นของมีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม เมื่อว่าตามความจริงแล้ว เขาหากมีหากเกิดขึ้นเสื่อมไป มีอยู่อย่างนั้นทีเดียวโดยไม่ต้องสงสัยเลย จึงรู้ขึ้นว่า ปุพฺเพสุ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ ธรรมดาเหล่านี้หากมีมาแต่ก่อน ถึงว่าจะไม่ได้ฟังจากใครก็มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว
ฉะนั้น ในข้อความนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เราไม่ได้ฟังมาจากใครมิได้เรียนมาจากใครเพราะของเหล่านี้มีอยู่มีมาแต่ก่อนพระองค์ ดังนี้ ได้ความว่าธรรมดาธาตุทั้งหลายย่อมเป็นย่อมมีอยู่อย่างนั้น อาศัยอาการของจิตเข้าไปยึดถือเอาสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นมาหลายภพหลายชาติ จึงเป็นเหตุให้เป็นไปตามสมมตินั้น เป็นเหตุให้อนุสัยครอบงำจิตจนหลงเชื่อไปตาม จึงเป็นเหตุให้ก่อภพก่อชาติด้วยอาการของจิตเข้าไปยึด ฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้าจึงมาพิจารณาโดยแยบคายลงไปตามสภาพว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ ทุกฺขา สังขาร ความเข้าไปปรุงแต่ง คืออาการของจิตนั่นแลไม่เที่ยง โลกสัตว์ เขาเที่ยง คือมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น ให้พิจารณาอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นเครื่องแก้อาการของจิต ให้เห็นแน่แท้โดยปัจจักขสิทธิว่า ตัวอาการของจิตนี้เองมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ตัวอาการของจิตนี้เองมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงหลงตามสังขารเมื่อเห็นจริงลงไปแล้วก็เป็นเครื่องแก้อาการจิต จึงปรากฏขึ้นว่า สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิสังขารทั้งหลายที่เที่ยงแท้ไม่มี สังขารเป็นอาการของจิตต่างหากเปรียบเหมือนพยับแดดส่วนสัตว์เขาก็อยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา
เมื่อรู้โดยเงื่อน ๒ ประการ คือรู้ว่าสัตว์ก็มีอยู่อย่างนั้น สังขารก็เป็นอาการของจิตเข้าไปสมมติเขาเท่านั้น ฐิติภูตํ จิตตั้งอยู่เดิมไม่มีอาการเป็นผู้หลุดพ้นได้ความว่า ธรรมดาหรือธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน จะใช่ตนอย่างไร ของเขาหากเกิดมีอยู่อย่างนั้น ท่านจึงว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน ให้พระโยคาวจรเจ้าพึงพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามนี้ จนทำให้รวมพับลงไปให้เห็นจริงแจ้งชัดตามนั้น โดยปัจจักขสิทธิพร้อมกับญาณสัมปยุตต์ปรากฏขึ้นมาพร้อมกัน จึงเชื่อว่าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ทำในที่นี้จนชำนาญเห็นจริงแจ้งประจักษ์ พร้อมกับการรวมใหญ่และญาณสัมปยุตต์ รวมทวนกระแสแก้อนุสัยสมมติเป็นวิมุตติ หรือรวมลงฐิติจิต อันเป็นอยู่มีอยู่อย่างนั้นจนแจ้งประจักษ์ในที่นั้น ด้วยญาณสัมปยุตต์ว่า ขีณา ชาติ ญาณนํ โหติดังนี้ ในที่นี้ไม่ใช่สมมติ ไม่ใช่ของแต่งของเดาเอา ไม่ใช่ของอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้เป็นของที่เกิดเองเป็นเอง รู้เองโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะด้วยการปฏิบัติอันเข้มแข็งไม่ท้อถอย พิจารณาโดยแยบคายด้วยตนเอง จึงจะเป็นขึ้นมาเอง
ท่านเปรียบเหมือนต้นไม้ต่าง ๆ มีต้นข้าว เป็นต้น เมื่อบำรุงรักษาต้นมันให้ดีแล้ว ผลคือรวงข้าว ไม่ใช่สิ่งอันบุคคลพึงปรารถนาเอาเลย เป็นขึ้นมาเอง ถ้าแลบุคคลมาปรารถนาแต่รวงข้าว แต่หาได้รักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตาย รวงข้าวก็จะไม่มีขึ้นมาให้เลยฉันใด วิมุตติธรรมก็ฉันนั้น แลมิใช่สิ่งอันบุคคลจะพึงปรารถนาเอาได้คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรม แต่ปฏิบัติไม่ถูกหรือไม่ปฏิบัติ มัวเกียจคร้านจนตัวตายจะประสบวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้
"..เราเกิดมาเพื่อประสบกับ ความทุกข์
คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มี
ถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา
ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเรา
อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด..
เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่า อุปาทาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม 8 ประการ คือ
มีลาภดีใจ ลาภสลายตัวไปเสียใจ
มียศดีใจ ยศสลายตัวไปเสียใจ
มีความสุขในกามดีใจ ความสุขหมดไปร้อนใจ
ได้รับคำนินทาเดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญมีสุข
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเรา
ใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า..
ทุกข์นี้ เป็นกฎธรรมดาของโลก.."
"..คนที่อ่อนแอ ย่อมแพ้อุปสรรคง่ายๆ
ส่วนคนที่เข้มแข็ง ย่อมไม่ยอมแพ้
เมื่อพบอุปสรรค ก็แก้ไขไป
รักษาการงานหรือสิ่งมุ่งจะทำไว้ ด้วยใจมุ่งมั่น
ถืออุปสรรคเหมือนอย่างสัญญาณไฟแดง
ที่จะต้องพบเป็นระยะ
ถ้ากลัวจะต้องพบสัญญาณไฟแดงตามถนน
ซึ่งจะต้องหยุดรถ ก็จะไปข้างไหนไม่ได้
แม้การดำเนินชีวิตก็ฉันนั้น
ถ้ากลัวจะต้องพบอุปสรรค ก็ทำอะไรไม่ได้.."
สมเด็จพระญาณสังวรฯ
เปิด เปิด ตาให้รับแสงแห่งพระธรรม
ยิ่งมืดค่ำ ยิ่งเห็นชัด ถนัดถนี่
สมาธิมาก ยิ่งเห็นชัดถนัดดี
นี่วิธี เปิดตาใจ ใช้กันมา
เปิด เปิด หู ให้ยินเสียงสำเนียงธรรม
ทั้งเช้าค่ำ มีก้องไปในโลกหล้า
ล้านล้านปี ฟังให้ชัด เต็มอัตรา
คือเสียงแห่ง สุญตา ค่าสุขใจ
เปิด เปิด ปาก สนทนา พูดจาธรรม
วันยังค่ำ อย่าพูด เรื่องเหลวไหล
พูดแต่เรื่อง ดับทุกข์ได้ โดยสัจจะนัย
ไม่เท่าไร เราทั้งโลก พ้นโศกแล ฯ
พุทธทาสภิกขุ
วสี ๕
ให้ชำนาญใน "วสีห้า" คือ
๑. ให้ชำนาญในการพิจารณาอารมณ์ ไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ใกล้ไกล หยาบละเอียด ให้พิจารณาให้ได้ให้เห็นชัดเหมือนกันหมด
๒. ให้ชำนาญในการเข้าจิต คือเข้าฌาน-สมาธิให้ได้ในอิริยาบทใด อยู่ในสถานที่ใดก็ให้เข้าให้ได้ทุกขณะ
๓. ให้ชำนาญในการตั้งอยู่ของจิต คือเมื่อจิตเข้าฌาน-สมาธิได้แล้ว จะให้จิตนั้นตั้งอยู่ในขั้นใดภูมิใด ช้านานสักเท่าไรก็ได้ตามประสงค์
๔. ให้ชำนาญในการตรวจตราชั้นภูมิของจิตทั้งของตนแลของคนอื่น
๕. ให้ชำนาญในการถอนจิต คือจิตเข้าถึงฌาน-สมาธิแล้ว เวลาจะถอนออกจากนั้นมา ให้รู้จักลักษณะอาการนั้นๆของจิต มิใช่เวลาจะถอนปุ๊บปั๊บถอนออกมาเลย
ผู้ชำนาญในวสีห้านี้ ฌาน-สมาธิของผู้นั้นจะไม่มีเสื่อมเลย
พระพุทธองค์จึงทรงตรัสย้ำว่า "ภาวิตา พหุลีกตา อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ" แปลว่า ท่านทั้งหลายจงทำให้มาก เจริญให้ยิ่ง จึงจะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เพื่อความดับทุกข์ดังนี้
คือพระองค์ประสงค์ว่า ทั้งผู้ที่กำลังเจริญอยู่ก็ดีหรือผู้ที่เจริญเป็นไปแล้วก็ดีในกรรมฐานหรือฌาน-สมาธิ-วิปัสสนาใดๆ ก็ตาม ไม่ให้ประมาท จงพากันเจริญอยู่เสมอๆ เพราะสิ่งที่จะยั่วยวนชวนให้เราหลงใหลมีอยู่รอบตัวในตัวของเรานี้ตลอดกาล
"..ธรรม คือ ของจริงของแท้ เป็นแก่นของโลก
ธรรม แปลว่า ของเป็นอยู่ ทรงอยู่สภาพตามเป็นจริง
เป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น เรียกว่า ธรรม
ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นธรรมทั้งนั้น
เรียก ชาติธรรม ชราธรรม พยาธิธรรม มรณธรรม
ทำไมจึงเรียกว่า ธรรม
คือ ทุกๆคน จะต้องเป็นเหมือนกันหมด...."
"..ถ้าความตายมาปรากฏให้เห็นเฉพาะหน้า
น้อมนำเอามาพิจารณาถึงตัวของเรา ว่าเราก็จะต้องเป็น
เช่นเดียวกันนั้น ตายแล้วเปื่อยเน่าเป็นอสุภ
แม้มีชีวิตอยู่ ก็ปฏิกูลโสโครกเป็นของน่าเบื่อหน่าย
แล้วจะหายจากความเกลียดความกลัว
และจะมุ่งหน้าบำเพ็ญแต่ความดี อันมีสาระให้เกิดประโยชน์
แก่ตนทั้งโลกนี้และโลกหน้าสมกับธรรมที่ว่า
ธมฺมกาโม ภวํโหติ ผู้ใคร่ต่อธรรม เป็นผู้เจริญ..."
"..ผู้เจริญศีลดีแล้วย่อมมีสมาธิเป็นผล เป็นอานิสงส์ใหญ่
ผู้เจริญสมาธิดีแล้ว ย่อมมีปัญญาเป็นผล เป็นอานิสงส์ใหญ่
ผู้เจริญปัญญาดีแล้ว ย่อมทำจิตให้สงบพ้นจากอาสวะ..."
หลวงปู่เทสก์
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร
ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา
เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา"
ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้
พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
"ผมก็เคยปฏิบัติมานานพอสมควรได้ ๔๐-๕๐ ปีกว่าแล้ว
กลัวก็เคยกลัว กล้าก็เคยกล้า รักก็เคยรัก ชังก็เคยชัง เกลียดก็เคยเกลียด โกรธก็เคยโกรธ เพราะหัวใจมี มิใช่คนตายพระตาย แต่ก็พยายามทรมานตนเต็มความสามารถไม่ท้อถอยตลอดมา
สิ่งเหล่านี้ที่เคยมีอำนาจก็ทลายลงด้วยอำนาจความเพียรของผู้กล้าตาย
ไม่มีอะไรมาแอบซ่อนอยู่ในใจได้ อยู่ที่ไหนก็สบายหายกังวล ไม่มีอะไรมาก่อกวนให้หลงกลัวหลงกล้า หลงรักหลงชัง หลงเกลียด หลงโกรธ อันเป็นเรื่องไฟกิเลสทั้งกองเผาใจดังที่เคยเป็น
ที่กล่าวมานี้ จะเพราะเหตุอะไร ถ้าไม่ใช่เพราะการฝึกทรมานใจให้อยู่ใต้อำนาจแห่งเหตุผล คืออรรถธรรม"
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
ถ้าเห็นชัดจริงๆ ในเรื่องของร่างกายบุคคลอื่นและร่างกายเรา
ว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุ ตามธรรมชาติ จิตมันก็จะวางได้โดยสมบูรณ์
คือวางความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายตน
วางความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายบุคคลอื่น
วัตถุธาตุทั้งหลาย มันจะเห็นเป็นสักแต่ว่าธาตุ ตามธรรมชาติ
พระอาจารย์อัครเดช (ตั๋น) ถิรจิตโต
ความเห็นที่ถูกนั้น คือ
“การเห็นจิตตามความเป็นจริง เห็นกายตามความเป็นจริง”
คือเห็นธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ของตน
และของคนอื่นสักแต่ว่าเป็นธาตุ
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตนตัว เราเขา
และเห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าเราสามารถเห็นได้แบบนี้แล้ว
เรียกว่า “เห็นกายตามความเป็นจริง”
"ทำเหตุเอาไว้ จึงได้รับผล"
นี่ตัวพวกเราเองเกิดมาในโลกนี้จนนับมิได้แล้ว แต่เริ่มเกิดเริ่มตายมาจนวันนี้ เหมือนกับสัตว์วิญญาณล่องลอยในโลก ก็อจินไตยนับมิได้ ใหญ่โตขึ้นเป็นลำดับจนได้เป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์ผู้ไม่รู้จักอันใด ก็เมาหา เมาอยู่ เมากิน เมาใช้ เมารายได้ เมารายจ่าย หลงภพ หลงเกิด หลงตายของตน จนที่สุดนานแสนนานจึงได้ทำความดี
ได้ทำความดีเป็นนานต่อไปอีกเนิ่นนานจึงได้สำเร็จได้
ในชีวิตนี้คิดอ่านให้ดี ความดีเราสะสมมาแล้ว ความชั่วเรามีอยู่ ความดีอันเราสะสมนับแต่พบปะพระพุทธเจ้า กราบไหว้ สักการบูชา พบปะพระอรหันต์ ฟังธรรมคำสอน พบปะบัณฑิต ฤๅษี โยคี ตั้งใจปฏิบัติกันมา บัดเดี๋ยวนี้เราอยากจะได้สุข อยากจะสำเร็จ อยากพ้นทุกข์ จึงมาทำความดี ให้ได้เป็นนิสฺสยปจฺจโย อุปนิสฺสยปจฺจโย ปุเรชาตปจฺจโย ปจฺฉาชาตปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อาเสวนปจฺจโย เหตุปจฺจโย ทำเหตุเอาไว้จึงได้ปัจจัย
คำว่า ปัจจัย แปลว่าได้รับผล ได้รับผลดีเป็นสุข ได้รับผลชั่วเป็นทุกข์ ได้รับผลตลอดไป เหตุถูกต้อง ปัจจัยถูกต้อง ได้สมบัติอันดี ผู้ชั่วก็เสาะหาแต่ชั่ว ผู้ดีก็เสาะทำแต่ความดี ได้รับผลดีตลอดไป ให้คิดอ่านให้ดี วันหนึ่ง คืนหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง ชีวิตหนึ่ง ชีวิตนี้ วันนี้ วานนี้ อะไรบ้างที่เป็นความดีของใจ ใช้ปัญญาคิดอ่านพิจารณา
หลวงปู่คำดี ปภาโส
"..การบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ถ้าไม่มุ่งหวังที่จะทำลายกิเลสตัณหาให้หมดไป ให้สิ้นไปแล้ว ก็ไม่มีทางพ้นไปจากทุกข์ พ้นไปจากโลกนี้ได้
ถ้าเราบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา มุ่งหวังที่จะทำลายกิเลสตัณหาอย่างเดียวให้หมดให้สิ้นไปคือที่ว่าพ้นไปจากโลก เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันที่ดับทุกข์โดยแท้ ไม่ต้องมีความสงสัยเลย.."
หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ
"จงปฏิบัติอย่างคนโง่ อย่าปฏิบัติอย่างคนรู้มาก
เพราะเป้าหมายของการปฏิบัติคือ เพื่อความว่างจากกิเลส
ว่างจากความยึดมั่นหมายมั่นต่างๆ เพื่อความเบาสบาย
ความปลอดโปร่ง และไม่ต้องแบก..แม้กระทั่งความดี"
“..อันผู้พิจารณาทุกข์ เมื่อเห็นสภาพตามเป็นจริงแล้ว ทุกข์นั้นไม่ใช่มันจะมาครอบงำผู้ที่เห็นทุกข์
แต่การพิจารณาทุกข์นั้น กลายเป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ มันเป็นการฟอกฝนจิตใจให้ใสสะอาด อันเป็นบ่อเกิดของปัญญา ให้ฉลาดเฉียบแหลมขึ้น..”
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
“การทำบุญทั้งหมดนั้น ต้องการให้จิตเรามันเป็นบุญ
ถ้าจิตเรามันเป็นบุญแล้ว อยู่ที่ไหน ทำบุญที่ไหน
บุญ มันจะเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ต้องฉลอง
ไม่ต้องให้คนรู้ ไม่ต้องให้คนเห็น ไม่ต้องมีอะไรไปเพิ่มเติม”
..สิ่งทั้งหลายที่จิตคิดไป ทุกสิ่งทุกอย่าง
เหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด
เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง
เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ
ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง
ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์ ...
"ไม่เห็นทุกข์ มันก็ไม่รู้จักทุกข์
ไม่รู้จักทุกข์ มันก็เอาทุกข์ออกไม่ได้"
..ความเป็นจริง หลักธรรมะ ท่านสอนให้พวกเราทั้งหลาย
ปฏิบัติเพื่อเห็นอนัตตา คือเห็นตัวตนนี้ว่ามันเป็นของว่าง
ไม่ใช่เป็นของมีตัวตน เป็นของว่างจากตัวตน
แต่เราก็มาเรียนกันให้มันเป็นตัวเป็นตน
ก็เลยไม่อยากจะให้มันทุกข์ ไม่อยากจะให้มันลำบาก
อยากจะให้มันสะดวก อยากจะให้มันพ้นทุกข์
ถ้ามีตัวมีตนมันจะพ้นทุกข์เมื่อไร ? .."
“ถ้าอยากปล่อยวาง อย่าอ้างเหตุผล
ต้องอยู่เหนือเหตุเหนือผล วางเหตุผลไปก่อน
เพราะถ้าเรายึดมั่นถือมั่นว่า เขาทำแบบนั้นไม่ดี
ทำแบบนี้ไม่ถูก เขาทำร้ายเรา
ก็ไม่มีวันเลย ที่เราจะอภัยให้เขาได้
แต่ถ้าเข้าใจหลักที่ว่า กรรมใครกรรมมัน ใครทำใครได้
เราทุกคนเป็นทายาทของกรรมที่เราทำไว้เอง
เราไม่ต้องโกรธ ต้องเกลียดใครหรอก
ส่วนหนึ่งที่เราโดนแบบนี้ นี่ก็ผลของกรรมเก่าเราเอง”
หลวงปู่ชา สุภัทโท
อ่านดูครับ เผื่อได้ข้อคิด
เมื่อผัวแอบกลับบ้าน ไม่ให้เมียรู้ตัว แล้วแอบเปิดดูสิ่งที่เมียเอาให้แม่กิน แต่พอเห็นข้างในเท่านั้นแหละ…
ลูกสะใภ้พูดว่า “ทำจืดแม่ก็ว่าไม่มีรสชาติ ตอนนี้ทำเค็มนิดหนึ่ง แม่ก็ว่ากินไม่ได้ แล้วจะเอายังไง!”
เมื่อแม่เห็นลูกชายแอบกลับมากระทันหัน เห็นเหตุการณ์ แต่ไม่กล้าพูดอะไร ได้แต่กลืนข้าวเข้าปาก ลูกสะใภ้มองตามด้วยความโกรธ......
เมื่อลูกชายลองชิมอาหารที่แม่กำลังกิน ก็พูดกับภรรยาว่า.
“ผมบอกคุณแล้วไม่ใช่เหรอ ว่าโรคของแม่กินเค็มมากไม่ได้?”
“เอาละ! ในเมื่อเป็นแม่ของคุณ วันหลังคุณก็ทำเองก็แล้วกัน” ลูกสะใภ้กล่าวด้วยความโมโห แล้วก็สะบัดหน้าเดินเข้าห้องไป
ลูกชายเรียกตามด้วยความจนใจ จากนั้นก็หันมาพูดกับแม่ว่า
“แม่ครับ ไม่ต้องกินหรอก เดี๋ยวผมต้มบะหมี่ให้แม่กินนะครับ”
“ลูกมีอะไรจะพูดกับแม่ไหม? ถ้ามีก็บอกแม่เถอะ อย่าเก็บไว้เลย”แม่เห็นอาการกังวลของลูกชาย
“แม่ครับ เดือนหน้าผมได้เลื่อนตำแหน่ง เกรงว่าจะต้องมีงานที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เมียผมก็อยากออกไปทำงาน คือว่า....”.
แม่รู้ทันทีว่าลูกชายจะพูดอะไรต่อ....
“อย่าส่งแม่ไปอยู่บ้านพักคนชรานะลูก....” แม่พูดออกมาอย่างอ้อนวอน
ลูกชายนิ่งคิดไปนาน แต่ก็พยายามหาทางออกที่ดีกว่านี้
“แม่ครับ อยู่บ้านพักคนชราก็ดีนะแม่จะได้ไม่เหงา ที่นั่นมีคนดูแล ดีกว่าอยู่ที่บ้านนะครับ หากเมียผมไปทำงาน เธอจะไม่มีเวลาดูแลแม่เลยนะครับ”
หลังจากที่เขาอาบน้ำเสร็จ ก็ออกมาทานบะหมี่ จากนั้นก็เข้าไปที่ห้องหนังสือ เขายืนนิ่งอยู่ที่หน้าต่าง ในใจเกิดความสับสนขัดแย้ง ไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไรดี!
แม่ของเขาเป็นหม้ายตั้งแต่ยังสาว กล้ำกลืนทนทุกข์เลี้ยงเขามาจนเติบใหญ่ อีกทั้งส่งเสียให้เรียนยังต่างประเทศ แต่แม่ไม่ได้อ้างสิ่งที่ทำไปเป็นเบี้ยต่อรองให้เขาต้องเลี้ยงดู กลับกัน
ภรรยาผู้มาทีหลังกลับเรียกร้องให้เขาต้องรับผิดชอบ นี่เขาต้องส่งแม่ไปอยู่บ้านพักคนชราจริงหรือ?
“คนที่จะอยู่กับแกในช่วงบั้นปลายชีวิตคือเมียนะโว้ย ไม่ใช่แม่!” เพื่อนๆมักจะเตือนเขาอย่างนี้
“แม่ของเธอแก่แล้วนะ หากโชคดีก็อยู่กับแกได้อีกหลายปี ทำไมไม่อาศัยเวลาที่เหลือของแม่แล้วก็กตัญญูปรนนิบัติท่านละ อย่ารอให้แกอยากกตัญญูแต่แม่ไม่อยู่แล้ว แล้วแกจะเสียใจ!” ญาติๆมักจะเตือนเขาว่าอย่างนี้ เขาไม่กล้าคิดอะไรต่อ กลัวว่าตนเองจะเปลี่ยนแปลงความตั้งใจ
เย็นแล้ว พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า เขานั่งเงียบๆคนเดียวด้วยจิตใจที่หดหู่
ณ บ้านพักคนชราที่แสนจะหรูหรานอกชานเมือง เขาใช้เงินจำนวนมากเพื่อทดแทนความรู้สึกผิดต่อแม่ของเขา อย่างน้อยที่นี่ก็สะดวกสบาย
เมื่อเขาพยุงแม่เข้าสู่ตัวอาคาร ทีวีจอยักษ์กำลังฉายภาพยนตร์ตลกอยู่ แต่ไม่มีเสียงหัวเราะจากผู้ชมแม้แต่คนเดียว คนชราจำนวนหนึ่งที่สวมใส่เสื้อผ้าเหมือนกัน นั่งอยู่บนโซฟานั่งมองประตูทางเข้าด้วยสายตาอันเหม่อลอย หญิงชราคนหนึ่งกำลังก้มตัวลงไปเก็บขนมที่ตกอยู่ที่พื้นขึ้นมาใส่ปาก
เขารู้ว่าแม่ชอบห้องที่สว่างโล่ง จึงเลือกห้องที่แสงพระอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามาได้ เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่าง ใบไม้กำลังร่วงลงสู่พื้นหญ้าเป็นจำนวนมาก นางพยาบาลหลายคนกำลังเข็นรถเข็นที่มีคนชรานั่งอยู่ออกไปชมพระอาทิตย์ตกดิน รอบตัวเงียบสงัด ทำให้เขาสะท้านวาบในจิตใจ
แม้แสงพระอาทิตย์ยามลับขอบฟ้าจะงดงามสักเพียงใด นั่นก็หมายความว่าความมืดยามค่ำคืนกำลังจะย่างกรายเข้ามาแทนที่ เขาถอนหายใจเบาๆ
“แม่ครับ ผม....ต้องไปแล้วนะ” ผู้เป็นแม่ทำได้เพียงแค่พยักหน้า
ตอนที่เขาเดินจากมา แม่ยังคงโบกมือลาด้วยสีหน้าอันเศร้าสร้อย อ้าปากพูดโดยไม่มีเสียงอยู่ตลอดเวลา เมื่อเขาหันมามอง จึงเห็นผมสีดอกเลาของแม่ เขานึกในใจ “แม่แก่แล้วจริงๆ”
อยู่ๆ ภาพในครั้งอดีตก็ผุดขึ้นในห้วงแห่งความคิด ปีนั้นเขาอายุได้เพียงแค่6ขวบ แม่มีธุระต้องไปต่างจังหวัด จึงต้องพาเขาไปฝากไว้ที่บ้านคุณลุง ตอนที่แม่จะออกจากบ้านไป เขารู้สึกกลัวมาก เอาแต่กอดขาแม่ไม่ยอมให้แม่ไป
“แม่จ๋าอย่าทิ้งหนูไป แม่จ๋าอย่าทิ้งหนูนะ!” สุดท้าย แม่ก็ไม่กล้าทิ้งเขาไปต่างจังหวัด
เขารีบก้าวเท้าเดินออกจากที่นี่ให้เร็วที่สุด เมื่อปิดประตูแล้วก็ไม่กล้าหันไปมองแม่อีก
เมื่อกลับถึงบ้าน เขาเห็นภรรยาและแม่ยายกำลังเก็บเอาข้าวของของแม่โยนออกมานอกห้อง
ถ้วยรางวัลรูปคนยืนสูงประมาณ3ฟุตที่เขาชนะเลิศประกวดเรียงความ “แม่ของฉัน”
พจนานุกรมอังกฤษจีนที่แม่ซื้อให้เขาในวันเกิดซึ่งเป็นของขวัญชินแรกที่เขาได้รับจากแม่
ยังมียาหม่องน้ำที่แม่ต้องทาขาก่อนนอนทุกวันฯ
“หยุดเดี๋ยวนี้นะ! พวกคุณโยนของๆแม่ผมออกมาทำไม?” เขาถามออกไปด้วยความโมโหสุดขีด
“ขยะทั้งนั้น ถ้าไม่ทิ้ง แล้วฉันจะเอาของๆฉันวางไว้ตรงไหน?”แม่ยายพูดอย่างไม่สบอารมณ์
“ใช่แล้ว คุณรีบเอาเตียงเน่าๆของแม่คุณไปทิ้งได้แล้ว พรุ่งนี้ฉันจะซื้อเตียงใหม่ให้แม่ฉัน!”
รูปเก่าๆสมัยเขายังเด็กกองอยู่กับพื้น มันเป็นรูปที่แม่พาเขาไปเที่ยวสวนสัตว์และสวนสนุก
“นั่นมันเป็นสมบัติของแม่ผม ใครก็เอาไปทิ้งไม่ได้!”
“มันจะมากเกินไปแล้วนะ มาทำเสียงดังกับแม่ฉันได้ยังไง ขอโทษแม่ฉันเดี๋ยวนี้!”
“ผมเลือกคุณก็ต้องรักแม่คุณด้วย แต่คุณแต่งงานเข้ามาอยู่บ้านผม ทำไมคุณรักแม่ผมไม่ได้?”
ท้องฟ้าอันมืดมิดหลังฝนตก หนาวสะท้านเข้าไปถึงหัวใจ ท้องถนนที่ว่างเปล่าไร้รถรา บีเอ็มดับบลิวคันหนึ่งพุ่งไปข้างหน้าราวกับอยู่ในสนามแข่ง พร้อมกับเสียงสะอื้นไห้ของชายคนหนึ่งซึ่งมุ่งไปทางบ้านพักคนชรานอกเมือง
จอดรถเสร็จ เขารีบวิ่งขึ้นไปที่ห้องพักของแม่ เมื่อเปิดประตูเข้าไป เขายืนมองแม่ด้วยความรู้สึกที่ไม่น่าให้อภัยตัวเอง แม่ของเขาก้มหน้าใช้มือนวดที่ขาของตัวเอง
เมื่อแม่ของเขาเงยหน้าขึ้นมองไปที่ประตู ก็เห็นลูกชายของตัวเองยืนอยู่และในมือถือยาหม่องน้ำอยู่ และก็พูดออกมาด้วยเสียงอ่อนโยนว่า
“แม่ลืมเอามาด้วย ดีนะที่ลูกเอามาให้...”
เขาเดินไปหาแม่และคุกเข่าลงไป
“ดึกแล้วลูก แม่ทาเองได้ พรุ่งนี้ลูกต้องไปทำงานแต่เช้า กลับไปเถอะ!”
เขานิ่งไปครู่หนึ่ง สุดท้ายก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้
“แม่ครับ ผมขอโทษ แม่ยกโทษให้ผมนะ กลับบ้านเราเถอะ!”
#########################
ลูกรัก ตอนที่เจ้ายังเด็ก แม่ใช้เวลาทั้งหมดค่อยๆสอนให้เจ้าใช้ช้อนใช้ตะเกียบคีบอาหาร สอนเจ้าใส่รองเท่า สอนเข้ากลัดกระดุม สอนเจ้าใส่เสื้อผ้า อาบน้ำให้เจ้า เช็ดอุจาระปัสาวะให้เจ้า สิ่งเหล่านี้แม่ไม่เคยลืม
หากวันหนึ่ง แม่จำไม่ได้ หรือเริ่มพูดช้าลง ขอเวลาให้แม่สักหน่อย รอแม่ได้ไหม ให้แม่ได้คิด...บางครั้ง สิ่งที่แม่อยากจะพูดกับเจ้า แม่อาจจะพูดกับเจ้าไม่ได้อีกแล้ว
ลูกรัก ลูกจำได้ไหม แม่ต้องสอนเจ้ากี่ร้อยครั้งให้เจ้าพูดว่าคำว่าแม่ได้!
แม่ดีใจมากแค่ไหนที่เจ้าเริ่มพูดเป็นประโยคได้?
แม่ต้องตอบคำถามของเจ้ากี่ร้อยครั้ง กว่าเจ้าจะเข้าใจในสิ่งที่เจ้าสงสัย!
ดังนั้น หากวันหนึ่ง แม่ถามเจ้าซ้ำแล้วซ้ำอีกกับเรื่องเดิมๆ ขอให้เจ้าอย่ารำคาญจะได้ไหม?
ตอนนี้แม่อาจกลัดกระดุมเสื้อไม่ได้ ยามกินข้าวอาจหกเลอะเสื้อผ้า เจ้าอย่าเอ็ดแม่ได้ไหม? ขอให้เจ้าอดทนและอ่อนโยนกับแม่ ขอเพียงเจ้าอยู่ข้างๆแม่ แม่ก็รู้สึกอุ่นใจ
ลูกรัก วันนี้ขาของแม่เริ่มอ่อนแรง ยืนได้ไม่ค่อยนาน เดินเหินลำบาก ขอให้ลูกจับมือและพยุงแม่ไว้ เดินเป็นเพื่อนแม่จนวันที่แม่สิ้นใจ เหมือนวันที่เจ้าคลอดมา แม่ก็พยุงเจ้าเดินอย่างนี้เหมือนกัน
.ธรรมะสวัสดีเช้านี้..
ถาม: ..การประเคนสิ่งของแก่พระภิกษุสามเณรที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
ตอบ: ..การถวายสิ่งของต่างๆให้แก่พระภิกษุรับเรียกว่า การประเคนสิ่งของ เราควรทำความเข้าใจให้รู้ก่อนว่าทำอย่างไร ถึงจะเหมาะสมและถูกต้องดี ในการประเคนของนั้น ขนาดและน้ำหนักของสิ่งที่จะประเคนนั้น ควรเป็นสิ่งของพอที่บุรุษมีกำลังยกคนเดียวได้ หรือไม่หนักเกินไป เพื่อจะยกประเคนได้สะดวก และพระก็รับประเคนได้สะดวกเช่นกัน หากทายกจัดเตรียมสิ่งของเหล่านั้นเสร็จแล้ว พระก็นั่งเรียบร้อยดีแล้ว เราก็ถือสิ่งของเหล่านั้นเข้าไปใกล้ ให้ได้หัตถบาท คือให้ห่างกันประมาณ 1 ศอกคืบ หรือ 2 ศอก พอเหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ แล้วยกของนั้นประเคนพระภิกษุ..ให้สูงพอแมวลอดได้..พระภิกษุก็น้อมรับสิ่งของ ที่โยมถวายแก่ตนด้วยความเคารพเช่นกัน ..
..การรับประเคนสิ่งของนั้น ถ้าโยมยกของถวายสองมือ พระก็ต้องรับสองมือ ถ้าโยมยกของถวายมือเดียวพระก็รับของมือเดียวเช่นกัน จึงถือว่าถูกต้องในการประเคนสิ่งของสำหรับโยมผู้ชาย..ถ้าหากว่าเป็นโยม ผู้หญิงประเคนสิ่งของ ก็ควรจะนั่งห่างจากพระภิกษุประมาณสองศอก ให้เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ พระภิกษุเมื่อรับประเคนสิ่งของจากโยมผู้หญิง ก็ควรมีผ้าสำหรับรับประเคน แล้ววางผ้านั้นลงตรงที่หน้าของตนให้เรียบร้อย โยมผู้หญิงก็น้อมนำสิ่งของที่ถวายพระวางลงบนผ้า ที่พระท่านจัดปูไว้นั้นด้วยความเคารพ ถ้าโยมยกของถวายสองมือ พระต้องจับผ้าสองมือ ถ้าโยมยกของถวายมือเดียว พระก็จับผ้ามือเดียวเช่นกัน ด้วยความเคารพในสิ่งของที่ตนบริจาคทานด้วยกันทั้งสองฝ่าย จึงเรียกว่าเป็นการประเคนสิ่งของให้พระภิกษุอย่างถูกต้อง แลดูสวยงามเหมาะสมในทางพระพุทธศาสนา เมื่อประเคนสิ่งของเรียบร้อยแล้ว ควรกราบหนึ่งครั้ง เพื่อเป็นการเคารพในกองบุญของตน หรือสถานที่ไม่เหมาะสมที่จะกราบ จะไหว้หนึ่งครั้งก็ได้..
ทาน ที่พร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
๑.วัตถุสมบัติ ได้มาด้วยความสุจริต
๒.เจตนาสมบัติ ประกอบด้วยใจที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
๓.คุณสมบัติ ผู้ให้ต้องมีกายสุจริต๓ วจีสุจริต๔ และมโนสุจริต๓
๔. ผู้รับก็ต้องมีคุณธรรม คือ ศีล๕ ศีล๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ เป็นต้น
ตัวผู้ให้มีองค์๓ ก็เหมือนกับก้อนเส้า ๓ ก้อน
ผู้รับมีอีกองค์หนึ่งก็เป็นภาชนะที่วางบนก้อนเส้า
เมื่อทานนั้นกอปรด้วยองค์ ๔ ดังนั้นเมื่อใด
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ
"ของดีนั้นทำนิดเดียวก็เป็นมาก
ของไม่ดีทำมากก็เป็นน้อย
ของดีด้วยทำมากด้วยยิ่งดีเลิศ"
เราผู้มีโอกาสวาสนาพอประมาณ ได้อุบัติเกิดมาเป็นร่างมนุษย์มีอวัยวะสมบูรณ์ ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาแต่ ปุพเพ จ กตปุญฺญตา คือ เคยสั่งสมคุณงามความดีสืบทอดกันมาเป็นลำดับ จนปรากฏผลเป็นผู้มีคุณค่ายิ่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย นับว่าเป็นผู้มีคุณค่าอันดับหนึ่ง อันดับต่อไป โปรดพยายามนำเอาผลกำไรอันเกิดจากกรรมดีนี้เป็นต้นทุนหมุนหาความดี ได้แก่การบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นภายในกาย วาจา ใจ ก็จะเพิ่มพูนความดีขึ้นไปอีกไม่มีสิ้นสุด แม้จะยังมีการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอยู่ เราก็พอ มีทางหลีกเลี่ยงจากความทุกข์ได้พอประมาณ และมีโอกาสประสบสุขในวงของสัตว์ผู้มีความทุกข์เช่นเดียวกับเรา จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง คือความพ้นทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง
แต่ผู้มีความมุ่งหน้าพยายามแก้ไขตนให้พ้นจากทุกข์ในชาติปัจจุบันนี้ จะไม่ขอมาสู่กำเนิดอันเป็นภพเกิดแล้วต้องตายในโลกทนทุกข์ทรมานนี้แล้ว ผู้นั้นโปรดมีเข็มทิศคือใจมุ่งมั่นต่อความเพียร การรักศีลก็ไม่มีสิ่งใดจะรักยิ่งไปกว่า แม้ชีวิตจิตใจก็ยอมพลีได้เพื่อศีลที่รักยิ่งนั้น ไม่ย่อมล่วงเกินฝ่าฝืนทั้งที่แจ้งและที่ลับ ทางด้านสมาธิ คือการอบรมใจเพื่อความสงบ ปราศจากข้าศึกอันเป็นเหตุที่จะบ่อนทำลายความสุขภายในใจ ก็พยายามอบรมให้เกิดมีขึ้นด้วยความเพียรไม่ลดละ
การอบรมใจเพื่อความสงบ จะกำหนดอาการส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย หรือจะกำหนดใจตามรู้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็ดี จะกำหนดธรรมบทใดบทหนึ่งมีพุทโธ เป็นต้น ที่ถูกกับจริตของตนก็ดี หรือจะกำหนดลมหายใจเข้าออกซึ่งปรากฏอยู่กับตัวทุกขณะก็ดี จงเป็นผู้มีสติรอบคอบ รอบรู้กับอาการแห่งธรรมที่ตนกำหนดพิจารณาอยู่ จนปรากฏเป็นปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรม คือจิตกับบทธรรมสัมปยุตกันอยู่ด้วยสติทุกขณะที่ทำการอบรม อย่าให้พลั้งเผลอ จนปรากฏว่าจิตกับธรรมเป็นอันเดียวกัน ไม่มีการแตกแยกจากกันแม้ขณะเดียว จะเป็นไปเพื่อความสงบ และพ้นทุกข์ไปโดยลำดับในชาตินี้โดยไม่ต้องสงสัย ที่อื่นซึ่งเป็นสถานที่จะรับรองโดยถูกต้องนั้นจะไม่มีนอกไปจากหลัก ศีล สมาธิ ปัญญาที่ทำงานอยู่ในวงแห่งธรรมดังกล่าวแล้ว
ขอท่านจงภาคภูมิใจในความเป็นอยู่ และความพากเพียรของท่านเถิด เราอนุโมทนากับท่านเป็นอย่างยิ่งที่เป็นมนุษย์ฉลาด สามารถปลีกตนออกจากโลกอันเต็มไปด้วยความเกลื่อนกล่นวุ่นวาย มาบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อเอาตัวรอดเป็นยอดคน พ้นทุกข์ไปแต่ผู้เดียว
การสั่งสม “วัฏฏะ ความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับเรื่องความเกิด ความตาย ซ้ำๆ ซากๆ ไม่มีวันเลิกแล้วนั้น เป็นทางเดินของคนโง่ซึ่งหาทางไปไม่ได้ เดินกันต่างหาก ซึ่งมิใช่ทางอันประเสริฐเลิศเลออะไรเลย ส่วนท่านกำลังดำเนินตามเส้นทางของท่านผู้เห็นภัยในความทุกข์ ทำไมท่านจึงไปชมเชยผู้กำลังหลงอยู่ในความทุกข์อย่างนั้นเล่า”
“การทำความเพียร เพื่อสมณธรรมให้จิตใจได้รับความสงบ เห็นโทษเห็นภัยในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นความชอบธรรมแล้ว ที่ท่านกำลังดำเนินอยู่เวลานี้ จะมีใครเล่าเป็นผู้มีจิตใจสูงส่ง เสาะแสวงหาความหลุดพ้นอย่างท่านนี้ ท่านควรจะยินดีในการบำเพ็ญของท่าน เพราะทำให้ท่านเป็นผู้มีคุณค่ามากในการที่ท่านบำเพ็ญอยู่เช่นนี้”
พระวัชชีบุตร กลับได้สติทันที เมื่อถูกเทวดาเตือนเช่นนั้น แล้วบำเพ็ญธรรมต่อไปด้วยความห้าวหาญตลอดคืน ปรากฏว่าท่านได้บรรลุถึงที่สุดแห่งธรรมในคืนวันนั้น
"..สติปัฏฐาน ๔
คือฐานที่ตั้งแห่งสติ พูดง่ายๆ ถ้าจิตเราได้ตั้งอยู่กับกายนี้แล้ว สติบังคับสติไว้กับกายนี้แล้ว ปัญญาท่องเที่ยวอยู่ในสกลกายนี้แล้ว เรียกว่าได้เดินทางในองค์แห่งอริยสัจอย่างสมบูรณ์
ทุกข์ ก็เป็นอันที่จะรู้เท่าทันในองค์แห่งอริยสัจนี้
สมุทัย ก็เป็นอันว่าจะได้ละได้ถอนกันอยู่ในองค์แห่งอริยสัจนี้
มรรค ก็เป็นอันว่าเราได้บำเพ็ญอยู่ในตัวของเรา พร้อมกับเวลาที่เราบังคับจิตใจหรือไตร่ตรองในธาตุขันธ์ของเรานี้
นิโรธะ ความดับไปแห่งความทุกข์ จะแสดงให้เราเห็นเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ชั้นหยาบที่สุด ชั้นกลาง จนกระทั่งถึงชั้นสูงสุด ไม่ได้นอกเหนือไปจากสติปัฏฐานทั้งสี่ เพราะเหตุนั้น สติปัฏฐานทั้งสี่ จึงเป็นทางเดินของพระอริยเจ้าทุกๆประเภท
กาย หมายถึง อวัยวะของเราทุกส่วนที่เรียกว่ากองรูป
เวทนา คือ ความสุข ความทุกข์และเฉยๆ
จิต หมายถึง เจตสิกธรรมที่ปรุงขึ้นไม่ขาดวรรคขาดตอน
ธรรม หมายถึง อารมณ์ที่เป็นเป้าหมายของใจ
นี่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ บรรดาพระอริยเจ้าทุกๆ ประเภท ได้ถือสติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์ของใจ.."
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
“..การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับ การปลูกต้นไม้
ศีลคือดิน สมาธิคือลำต้น ปัญญาคือดอกผล
เราต้องการให้ต้นไม้เจริญงอกงาม
ก็ต้องหมั่นรดน้ำพรวนดินและต้องคอยระมัดระวัง
มิให้ตัวหนอน คือ โลภ โกรธ หลง มากัดกิน...”
"ถ้าเรารู้จักเหตุ ก็สร้างเหตุขึ้น ผลมันก็เกิดตามมาเอง
แต่คนเราไม่ทำอย่างนั้น...
ส่วนมากต้องการแต่ดีดี แต่ไม่สร้างความดี
มันจะเกิดมาจากไหนได้ มันก็ย่อมพบแต่สิ่งที่ไม่ดีนั่นแหละ
เมื่อได้สิ่งไม่ดี ใจมันก็เกิดเป็นทุกข์เป็นร้อนขึ้นมาทันที"
"..ความเพียรใดก็ตาม ไม่เหมือนความเพียรพยายามรักษาจิต และพยายามกำจัดสิ่งไม่ดีทั้งหลายซึ่งมีอยู่ภายในจิตออกไป และพยายามรักษาไม่ให้จิตออกไปกว้านเอาอารมณ์ต่างๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เข้ามาทำลายจิตใจ หรือเข้ามาเพิ่มกิเลสที่มีอยู่แล้ว ให้กำเริบยิ่งขึ้น งานนี้เป็นงานสำคัญมาก..."
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
ถาม: .. คนเราเมื่อตายไปแล้วจะต้องได้มาเกิดอีกจริงหรือไม่
..ตอบ .. คนเราเมื่อตายไปแล้วจะต้องกลับมาเกิดอีกจริงแน่นอน ถ้าหากเราปฎิบัติตนยังไม่ถึงนิพพาน มีอย่างเดียวที่คนตายไปแล้วไม่กลับมาเกิดอีก คือผู้ที่ประพฤติธรรมชำระกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้หมดสิ้นไปจากดวงใจ จิตเข้าถึงนิพพาน เมื่อร่างกายแตกดับไปแล้ว จิตที่บริสุทธิ์แล้ว จิตวิญญาณจะไม่มาเกิดอีกเลยในรูปร่างกาย..
.. ถ้าคนเรายังชำระกิเลสไม่หมดไปจากดวงใจ เกิดขึ้นมาแล้วไปทำแต่บาปกรรมความชั่ว ด้วยกายวา จาใจทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อตายแล้ว มันก็ไปเกิดในที่ทุกข์บ้าง ตกนรกบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง ในอบายภูมิทั้ง๔ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เมื่อตายแล้วจะไปเกิดตามกรรมที่ตนเองสร้างเอาไว้
..ส่วนบุคคลที่สร้างความดี ทำทานการกุศลรักษาศีลภาวนานั้น ผู้นี้ตายแล้วไปเกิดบนสวรรค์ ถ้าทำดีขึ้นไปอีกจนเข้าฌานได้ บุคคลนี้ก็ไปเกิดบนพรหมโลก โดยทั้งสองกลุ่มนี้ เมื่อหมดผลบุญที่สร้างเอาไว้ ก็จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก แล้วแต่อำนาจการทำความดีของบุคคลนั้น ..
..เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่ากลับมาเกิดแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้ายังละกิเลสไม่หมดจากดวงใจ..เกิดแน่นอน..แต่จะเกิดเป็นอะไรนั้น ก็ด้วยอำนาจของกรรมที่ตนเองสร้างแต่งเอาไว้ให้เกิด..เรียกว่าชนกกรรมกรรม.. กรรมแต่งให้เกิด..อุปัตถัมภกกรรม..กรรมอุปถัมภ์บำรุง..
.. ผู้ที่ไม่เกิดหลังจากตายไปแล้ว ก็มีแต่ผู้ที่ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมดจดจากความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าสู่นิพพานเท่านั้น ผู้นี้ตายไปแล้วจึงไม่กลับมาเกิดอีก..
ถาม: ..ศาสนามีประโยชน์ต่อชีวิตเราอย่างไร
ตอบ: ..ศาสนาไหนก็ตาม จุดมุ่งหมายของผู้สอน คืออยากให้คนที่นับถือนั้นได้รับความสุขความเจริญในชีวิต ในการประพฤติปฏิบัติตามคำสอนนั้นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต..
..พระพุทธศาสนาของพวกเรา ที่ปฏิบัติกันอยู่ ก็สอนให้คนประพฤติปฏิบัติดี ไม่ให้กระทำชั่วกระทำบาป คนที่ไม่กระทำชั่วไม่ทำบาป อันจะนำทุกข์มาให้ มันก็เลยไม่มีทุกข์ ไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวาย พระพุทธศาสนาให้เรา ประพฤติปฏิบัติตาม ว่าตั้งแต่การทำบุญทำทานการกุศล รักษาศีล เจริญภาวนา การทำบุญนั้นก็เป็นการพัฒนาตนเอง การรักษาศีลนั้นทำให้ตนเองเป็นผู้มีศีลธรรม ไม่มีวิปฏิสารความเดือดร้อนอะไร มีประโยชน์ต่อชีวิต ถ้าเราทำสมาธิให้จิตใจสงบ ก็ทำให้เรามีความสุข ถ้าเราเจริญปัญญา เราก็มีปัญญาเฉลียวฉลาดรู้รอบคอบ ใช้สติปัญญาให้เกิดประโยชน์ ให้ถูกต้องไม่มีความเดือดร้อน..
..ศาสนามีประโยชน์ต่อชีวิตเราอย่างนี้ ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติอยู่แล้ว ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะนำความสุขความเจริญ มาให้แก่บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติ แล้วแต่ผู้นับถือจะปฏิบัติได้แค่ไหน สิ่งที่มันทำให้มีความทุกข์มันก็มีมาก ผู้ที่ปฏิบัติได้อย่างกลาง ก็มีความทุกข์บ้างมีความสุขบ้าง ผู้ที่ถือปฏิบัติได้มากในศาสนานั้น มีคุณงามความดี ก็มีความสุขมาก ในศาสนาของเรานั้น ศาสนานำความสุขความเจริญมาให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของคนเราที่เกิดมาอย่างแน่นอน..
พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ใหญ่พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
"กรรมฐานระลึกชาติได้ ระลึกบุญคุณคนได้"
..อาตมาไม่สอนใครไปสู่สวรรค์นิพพาน แต่สอนกรรมฐานให้ระลึกชาติได้ ระลึกบุญคุณคนได้ นึกถึงพ่อแม่ นึกถึงตัวเองและสงสารตัวเอง จะได้ทำแต่สิ่งดีๆ แค่นี้พอก่อน บางคนลืมพ่อลืมแม่ อย่าลืมนะ การเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาต สอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่ ไม่งั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลังเลยดำน้ำไม่โผล่
หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่เหลือจะนับจะประมาณนั้น คือ หนี้พระคุณของบิดามารดา คำพังเพยเปรียบเทียบสั่งสอนมาสองพันกว่าปีแล้ว ว่าจะเอาท้องฟ้าหรือแผ่นดินมาเป็นกระดาษ เอาเขาพระสุเมรุมาศมาเป็นปากกา จะเอาน้ำมหาสมุทรมาเป็นน้ำหมึก ก็ไม่สามารถจะจารึกพระคุณของบิดามารดาไว้ได้ เพราะน้ำในมหาสมุทรจะเหือดแห้งหมด ก่อนที่จะจารึกพระคุณบิดามารดาได้จบสิ้น
คนอื่นที่เป็นเพื่อนที่รักหรือยอดหัวใจ ก็ยังมีโทษแก่ตัวเรา รักเราไม่จริงเหมือนบิดามารดา เขาพึ่งเราได้จึงมารักเรา
นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยังจะไปทวงนาทวงไร่ ทวงตึกรามบ้านช่องมาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้แล้ว เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ ไปทวงหนี้พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว เรียนสำเร็จแล้วยังช่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้างรับรองทำมาหากินไม่ขึ้น
คนไม่ทำกิจวัตร ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ไม่รับผิดชอบ แปลว่า คนนั้นเกลียดตัวเอง กินเหล้าเมาสุรา เล่นการพนัน เที่ยวสรวลเสเฮฮากินโต้รุ่ง พ่อแม่ก็เสียใจ ยังไปว่าพ่อแม่ ไปทวงหนี้ เอาทรัพย์สมบัติพ่อแม่มาฉุยแฉกแตกราน นี่คือ ลูกสะสมหนี้ ไม่ยอมใช้หนี้
เดี๋ยวนี้ตัวเราไม่สงสารแล้ว กินเหล้าเข้าไป ทรัพย์สมบัติพ่อแม่ให้มา ก็ขายแจกจ่ายให้หมด ไม่มีเหลือเลย ตัวเองก็จะขายตัวกิน ขายตัวเอง เขาก็ไม่เอาอีก เพราะขี้เกียจเช่นนี้
ขอฝากท่านเป็นข้อคิด พ่อแม่นั้นมีบุญคุณต่อเรามากในมาตาปิตุคุณสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ลูกจะให้แม่นั่งบนบ่าขวา ให้พ่อนั่งบนบ่าซ้าย ถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงไปบนบ่าลูก ลูกเป็นผู้เช็ดให้ หาอาหารมาป้อนให้ กระทั่งจนท่านตายหรือกระทั่งลูกตายไป ก็ไม่สามารถจะตอบแทนพระคุณค่าป้อนข้าวป้อนน้ำนม ที่ท่านได้ถนอมกล่อมเกลี้ยงบำรุงเลี้ยงมาอย่างดีได้
ทำอย่างไรให้ได้ชื่อว่า ได้ทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างเลิศที่สุด สรุปคือ ถ้าพ่อแม่เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ลูกสามารถชักจูงพ่อแม่ให้กลับเป็นสัมมาทิฎฐิได้นั้น ถือว่าได้ทดแทนคุณอย่างเลิศ เช่น พ่อแม่มีความเห็นผิด เป็นต้นว่าไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ แล้วลูกสามารถชักจูงชี้แจงให้ท่านมีความเห็นที่ถูกต้อง เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บุญบาปมีจริง ถ้าทำอย่างนี้ได้ถือว่า ทดแทนบุญคุณอย่างเลิศที่สุด
วิธีใช้หนี้พ่อแม่ไม่ยากเลยลูกทั้งหลายเอ๋ย จงสร้างความดีให้กับตัวเองและก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง นี่เป็นเรื่องสำคัญ ตัวเราพ่อให้หัวใจแม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองแล้ว อยู่ในตัวเราจะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหนอีกเล่า
บางคนรังเกียจ พ่อแม่ ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม พอตัวเองแก่ ก็เลยถูกหลานรังเกียจ จึงเป็นกงกรรมกงเกวียนยืดเยื้อกันต่อไปอีก ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้ว ก็ให้หมั่นทำบุญ อุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน และถ้าจะทำบุญด้วยการมาเจริญกรรมฐานแล้วอุทิศส่วนกุศลไป การทำเช่นนี้ ถือว่าได้บุญมากที่สุดทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
ถ้าไม่มีพ่อแม่ เราทุกคนก็ไม่ได้เกิด อันนี้เป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ ผู้ใดก็ตามที่คุณแม่ยังมีชีวิตก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบเท้าขอศีลขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่าน ก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรมล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษ...
"โอ้ผู้ใดใครเล่าจะเท่าแม่
พระคุณแม่เหนือใครไปทุกสิ่ง
ลูกนึกเทียบเปรียบสิ่งใดไม่ได้จริง
ช่างใหญ่ยิ่งยากแสนจะแทนคุณ"
วิธีทำบุญง่ายๆและได้บารมี 10 ทัศ
วิธีทำบุญง่ายๆ สำหรับคนไม่มีเวลา สามารถทำได้ทุกวัน โดยได้บารมี 10 ทัศ ครบถ้วนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ พูดถึงเวลาถ้าเราทำบุญ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการ ตักบาตรหรือเข้าวัดทำบุญ เป็นส่วนมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่มีเวลา ก็เลยเสียโอกาสในการสั่งสมบุญ บารมี วันนี้จึงมีเรื่องมาเล่าให้ทุกๆท่านได้อ่านและพิจารณา เผื่อจะได้แง่มุมใหม่ๆในการสร้างบุญกุศล สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา เพื่อจะได้นำมาปฏิบัติอย่างง่ายๆ เพื่อสั่งสมบุญบารมี มีดังนี้
1. หากระปุกออมสิน หรือ บาตรพลาสติก หรือภาชนะที่สะดวก ในการหยอดเงิน นำมาวางไว้ที่ในห้องพระ หรือหิ้งพระ สำหรับคนที่อยู่คอนโดหรืออพาร์ทเม้นต์ ถ้าไม่มีห้องพระให้หารูปพระ มาติดที่ฝาผนังก็ได้
2. ทุกวันให้เราสละเวลา เพียงวันละประมาณ 20-30 นาที สวดมนต์ไหว้พระเวลาไหนก็ได้ที่เราว่าง เราสบายใจ เช้า สาย บ่าย เย็น หรือก่อนนอน โดยเริ่มจากบท
คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้)
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้)
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้)
คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
นมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
*ระหว่างที่ตั้งนะโม ก็ให้เรานำเงินมา จบเอาไว้ในมือ จะกี่บาทก็ได้ 5 บาท 10 บาท หรือ 20 บาท หรือจะมากกว่านั้นตามแต่ศรัทธา จากนั้นก็เริ่มสวด
คำกล่าวบูชาไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย
อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสา
พาหุงมหากา หรือ พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)
๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
สวดจบแล้วให้กลับมาสวด พระพุทธคุณ บทเดียวหรือ 9 จบ, เท่าอายุบวกหนึ่ง
* ถ้าสวดให้ผู้อื่น เปลี่ยนเป็น เต
* * * ถ้าไม่มีเวลา ให้กลับมาสวด บทพระพุทธคุณบทเดียว 9 จบ เท่าอายุบวกหนึ่ง
3. ต่อจากนั้น ตั้งสมาธิจิตสักระยะหนึ่ง แล้วอธิษฐานจิตจนเสร็จ จากนั้น เอาเงินที่จบไว้ในมือ ใส่เข้าไปในภาชนะที่เตรียมไว้ที่หิ้งพระหรือโต๊ะหมู่บูชา หรือหน้ารูปพระ เสร็จแล้วอย่าลืม แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลทุกครั้งให้เจ้ากรรมนายเวร ทำอย่างนี้ทุกวันอย่าให้ขาด
คาถาแผ่เมตตา (แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
4. หลังจากนั้น เราก็จะได้บารมีครบถ้วน เพียงแค่สวดมนต์ไม่กี่นาที และสิ่งเหล่านี้ก็จะสะสมในใจเราทีละน้อย เหมือนกับเราเก็บเงินวันละ บาท 10 วันก็ได้ 10 บาท แต่ถ้าเราไม่ทำอะไร เราก็จะไม่ได้อะไรเลย แล้วเงินที่เราหยอดทุกวัน ที่ได้จากการสวดมนต์ ก็เหมือนเราตักบาตรทุกวัน โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อมีโอกาศเข้าวัด หรือจะไปทำบุญตามสถานที่ต่างๆ เราก็นำเงินนั้นแหละไปทำบุญ หยอดตู้ ใส่ซอง ทำให้จิตของเราติดอยู่กับบุญกุศล ทุกวัน
บารมีครบถ้วน 10 ประการมีดังนี้
1. ทานบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์เสร็จ เราทำทานคือเอาเงินที่จบใส่ใน กระปุกออมสิน หรืออื่นๆ เป็น ทานบารมี
2. ศีลบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์อยู่ในขณะนั้นเราไม่ได้ทำบาปกรรมกับใคร มีศีลอยู่ในขณะที่สวดมี ศีลบารมี
3. เนกขัมมบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์อยู่ จิตของเราปราศจาก นิวรณ์มารบกวนจิตใจ ถือว่าเป็นการบวชใจ ถือว่าเป็น เนกขัมมบารมี
4. ปัญญาบารมี = การสวดมนต์ทำด้วยความศรัทธา ทำด้วยปัญญาที่เห็นว่ามันเป็นประโยชน์ช่วยฝึกฝนให้เกิดสติ มีสมาธิเป็น ปัญญาบารมี
5. วิริยะบารมี = ถ้าเราไม่มีความเพียร เราก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นความเพียรเป็น วิริยะบารมี
6. ขันติบารมี= มีความเพียรแล้ว ไม่มีความอดทน ความเพียรก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความอดทน ความอดทนเป็น ขันติบารมี
7. สัจจะบารมี = มีความเพียร มีความอดทนแล้ว และมีความจริงใจในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งความจริงใจคือ สัจจะบารมี
8. อธิษฐานบารมี = เมื่อเราสวดมนต์เสร็จ ทำสมาธิ ตั้งจิตอธิฐาน การอธิฐานเป็น อธิษฐานบารมี
9. เมตตาบารมี = ใส่บาตร สวดมนต์เสร็จ ก็ต้องแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล การแผ่เมตตาเป็น เมตตาบารมี
10. อุเบกขาบารมี = ขณะที่แผ่เมตตา เราต้องทำใจของเราให้มีเมตตา ต่อสัตว์ทั้งหลาย ทำใจให้เป็นพรหมวิหาร 4 อุเบกขา วางเฉย อโหสิกรรม กับบุคคลที่เราเคยล่วงเกินกันมา ไม่โกรธใคร ไม่เกลียดใคร ไม่ชอบใคร ไม่ชังใคร ทำใจให้นิ่ง ทำจิตให้สงบ วางใจให้เป็นอุเบกขา เป็น อุเบกขาบารมี
กุศล แปลว่า กิจของคนฉลาด
หมายถึงความดี เช่นเดียวกับบุญ
อกุศล แปลว่า กิจของคนไม่ฉลาด
หมายถึงความชั่ว เช่นเดียวกับบาป
สรุปความว่าผลของบุญคือความดีนั้น
คือความสุขที่เกิดจากความบริสุทธิ์ใจ
เพราะการทำบุญคือความดีโดยตรง
มุ่งชำระฟอกล้างจิตใจให้บริสุทธิ์
สะอาดจากโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นอกุศล
เรียกว่า ทำบุญเพื่อบุญ หรือทำความดีเพื่อความดี
แต่ละคนลองหัดทำบุญเพื่อบุญ
จะได้ความสุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์ใจ
ซึ่งเป็นความสุขอย่างบริสุทธิ์ในปัจจุบันที่ทำ
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
..กรรมมีแรงดึงดูด ตามกฎธรรมชาติ
กรรมและกฎของกรรมเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุด
แต่ว่าถ้าเราจะไปคอยแต่กรรมดีมันจะให้ผล
ไม่ทำอะไร มันก็ไม่สำเร็จประโยชน์
การกระทำในปัจจุบันนี้ เป็นสื่อดึงดูด
เอาผลบุญผลกรรมในปางก่อนให้มาสนับสนุนกัน
ก็เหมือนๆกันกับแผ่นดินนี่แหละ
ความชุ่มชื้นของดินฟ้าอากาศในผืนแผ่นดินนี่
ป่าดงพงพีมันรก ดินไม่แห้งผาก
เป็นทะเลทรายอย่างทุกวันนี้ มันก็มีแรงดึงดูด
เอาน้ำบนฟ้าลงมา ทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล
มาเดี๋ยวนี้ มนุษย์มนาทั้งหลาย มันทำป่าราพณาสูร
ทำดินให้เป็นทะเลทราย มันมีแต่ความแห้งแล้ง
มันก็ไม่มีแรงดึงดูดเอาน้ำบนฟ้าลงมา
มันจึงทำให้บ้านเมืองแห้งแล้วกันทุกวันนี้
เพราะฉะนั้น มันต้องบุญใหม่ บุญเก่า
ถ้าเราทำดี ของใหม่นี่ดี ของเก่ามันก็มาสนับสนุน
ถ้าเรามีความไม่ดีอยู่ พอมาทำชั่วนิด ๆ หน่อย ๆ
ความชั่วเก่ามันมาสนับสนุน มันก็ทำให้แรงขึ้น
กฎธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น.....”
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
..การฟังธรรม
นั้นไม่จำเป็นจะต้องจำให้ได้หมด บางคนคิดว่าฟังแล้วก็ลืม จำอะไรไม่ได้ ข้อนี้ไม่สำคัญ อยู่ที่ตั้งใจฟัง
ให้เสียงนั้นผ่านไปๆด้วยความสงบ เหมือนกับผ้าที่เราพับไว้เป็นชั้นๆ ถึงคราวที่เราจะคลี่ออกมา การฟังธรรมก็เหมือนกัน มันจะค่อยซึมซาบเข้าไปในความทรงจำทีละน้อยเพราะมี สติ สันติ พุทโธ ความระลึกได้ สงบใจ และตื่นตัวรู้ตัวอยู่ ในขณะที่ฟังธรรมทั้งสามนี้มีอยู่พร้อมกันจะกำจัดนิวรณ์ได้
เมื่อมีความสงบใจ ความรู้จะเกิดขึ้น เรื่องต่างๆหรือเหตุการณ์ที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา และความรู้บางอย่างจะเกิดขึ้นมาเอง การฟังธรรมด้วยดีจะเกิดเป็นไตรสิกขาขึ้น ดังนี้
การสำรวมระวังกายวาจาใจเรียกว่า "ศีล"
ใจสงบเรียกว่า "สมาธิ"
อาการที่รู้ทันเมื่อมีอารมณ์มากระทบ รู้ตามความเป็นจริงเรียกว่า "ปัญญา" ..
"...ทั้งรูป ทั้งนาม สิ่งทั้งหลาย ที่จิตไปคิด
ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด
เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ
ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามเป็นจริง
ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์
ก็ไม่วางสิ่งเหล่านี้ได้
เมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้
ก็เป็นของหลอกลวง สมกับที่พระศาสดาตรัส
ว่า จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายตามใคร
จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆ
เข้าไปอยู่ในที่นั้น
ที่จะมีเรื่องราวก็เพราะ
มันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง.."
หลวงปู่ชา สุภัทโท
“..ผู้มีปัญญา รู้เห็นธรรมะ
ท่านไม่ต้องการอะไร ไม่เอาอะไรอีกแล้ว
เพราะถ้าจะเอาความสุข ความสุขมันก็ดับ
ถ้าจะเอาความทุกข์ ความทุกข์มันก็ดับ
จะเอาวัตถุสมบัติข้าวของอะไรต่าง ๆ
สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็จะดับเหมือนกัน
แม้นแต่ร่างกายที่คนหวงแหนกันนี้
เกิดขึ้นแล้ว ที่สุดแล้ว มันก็ดับ..”
เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ ครับ ในการฝึกปฏิบัตินี่ ?
“..พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ
ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริงด้วยตัวของท่านเองว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลย
จงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่า ความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร
ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร
อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอเมื่อมีอะไรๆเกิดขึ้นให้ได้รู้ได้เห็น นี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจจธรรมของพระพุทธองค์
จงเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติ
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมด เมื่อท่านทำวัตรสวดมนต์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถนหรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะอยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่าท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น
พวกท่านบางคนบ่นว่าไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่ามีเพียงพอไหม?
การทำสมาธิภาวนาของท่าน คือการมีสติระลึกรู้ และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ..”
ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่แสง
พระคุณเจ้าท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจาย์ (โต) พรหมรังสี เล่าเรื่องพระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ สมัยเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่
พระอาจารย์แสงมหิทธิเมธาจารย์ แห่งวัดเกาะแก้ว(วัดมณีชลขัณฑ์) ตำบลพรหมาสตร์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เล่าเรื่องของท่านให้ข้าฯ ฟัง ครั้นเมื่ออยู่รุกขมูลร่วมกับท่านและข้าได้ถวายตัวหรือปวารณาตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์แสง ต่อมาจึงได้เรียนถามท่านถึงเรื่องการก่อสร้างพระเจดีย์ของท่านที่เกาะแก้วกลางน้ำลพบุรี ท่านก็เล่าเรื่องให้ข้าฯ ฟัง เดิมพระอาจารย์แสงฯ เดินธุดงค์มาจากที่อื่น มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดชีป่า (ปัจจุบันเรียกว่า วัดชีป่าสิตาราม) ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี สมัยนั้นยังเป็นป่าดงพงพฤกษ์อยู่รอบๆ วัดมีต้นไม้ใหญ่น้อยติดต่อปกคลุมไปทั่ว
บริเวณ...ถัดมาทางทิศตะวันตกเป็นที่ราบลุ่มมีหนองน้ำมีปาระกำมะเดื่อ ป่าตันกระโดนปะปนกันไปมีสิงห์สาราสัตว์มาก ไก่ป่า ช้าง เสือ เนื้อสมัน และหมูป่า สัตว์จำพวกนี้อาศัยอยู่ตามพื้นดิน สัตว์อีกจำพวกหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นไม้ มีผึ้งใหญ่ นกยูง นกกระทือ ลิง ค่าง บ่าง ชะนี ยามค่ำคืนส่งเสียงร้องโหยหวนอยู่รอบบำาน่าวังเวงใจ สัตว์แทบทุกชนิดที่มาอาศัยอยู่บริเวณป่านี้มากเพราะมีหนองน้ำใหญ่และป่าดงดิบ ทางทิศตะวันออกขึ้นไปไม่มีหนองน้ำให้เป็นที่พึ่งพิงแก่สัตว์ป่าเลย พวกฝูงสัตว์ทั้งปวงย่อมขาดน้ำมิได้จึงเป็นเหตุให้ฝูงสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายเหล่านี้มาอาศัยพึ่งพิงกินน้ำ และลูกไม้เป็นอาหาร ตกตอนดึกเสียงเสือลำพองคะนองอยู่ราวป่าชวนประหวั่นใจของท่านให้ข้าฯฟัง ข้าฯสนใจมากยามว่าง ข้าฯจึงถามเรื่องการก่อสร้างพระเจดีย์ของพระอาจารย์แสงว่าความเป็นมาอย่างไรท่านก็เล่าให้ข้าฟังอีก
เมื่อหลายปีมาแล้วท่านได้จำพรรษาอยู่วัดชีป่า ลพบุรี คืนหนึ่งย่ำรุ่งท่านนั่งวิปัสสนาอยู่ตามลำพังองค์เดียว พอจิตสงบก็เกิดนิมิตปรากฏขึ้นแลเห็น
แสงสว่างช่วงโชติแพรวพราวงามระยับอยู่กลางหนองน้ำ ท่านจึงค่อยประคับประคองจิตใจให้อยู่ในสมาธิและอธิษฐานขอชมอยู่ไม่รู้เบื่อจนตลอด
สว่าง ครั้นในคืนต่อๆ มาก็นั่งสมาธิอีกเกิดความโลภหลั่งไหลเข้าไปในดวงจิตมืดมืดมิดหนาวหาวง่วงทั้งเวทนาก็รบกวน ไม่สงบจิตชบเชานิมิตบ่มีเกิดให้เห็นอีกเลย แต่ก็ไม่ได้ลดละความเพียรพยายาม แม้จะเพียรพยายามสักเท่าไหร่ก็ไม่เห็น จึงมานั่งปรารภกับตัวเองว่า เห็นจะมีบุญวาสนาน้อยเพียงแค่นี้แล้วหันมากำหนดรู้ดูจิตของตัวเองดูว่า เหตุการณ์ที่ปรากฏขึ้นคืนนั้นจึงจำเหตุการณ์นั้นได้ว่าการทำวิปัสสนาในคืนนั้นเราไม่ได้อยากรู้อยากเห็นอะไรไม่ได้เอาจิตใจไปจดจ่อขอดูกับความอยากรู้อยากเห็น หรือขอดูทำไปเพื่อปฏิบัติบูชาคุณขององค์พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ต่อจากนั้นจึงค่อยเตรียมตัวไปสรงน้ำให้สะอาดปลอดโปร่งดีแล้วค่อยเข้าที่ทำวิปัสสนาเปลี่ยนทิศทางเสียใหม่ พอนิวรณ์สงบลงก็สำรวจดูจิตว่าอยู่ในอารมณ์ใด และพยายามทำจิตให้ผ่องแผ้วกว้างขวางร่าเริงเหมือนนกยูงที่กำลังรำแพนอยู่บหน้าผาที่รับลมในขณะนั้นเองก็เกิดนิมิตปรากฏทางตาให้เห็นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ค่อยๆ ประคับประคองไม่ให้ความโลภเกิดขึ้นอีก จึงได้ชื่นชโสมนัสอยู่กับดวงแก้วมณีโชติอยู่ตลอดกาลเข้าพรรษาทุกค่ำคืนออกพรรษาท่านพระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ ก็ได้ออกธุดงควัตรไปโปรดสัตว์ปักกลดอยู่ที่ดงพญาไฟ (ปัจจุบันนี้เรียกอาถรรพณ์ว่าดงพญาเย็น) ท่านปลักกลดอยู่ตามลำพังองค์เดียว เมื่อถึงฤดูกาลเข้าพรรษาปีต่อไป ท่านก็กลับมาอธิษฐานจำพรรษาอยู่ที่วัดชีป่า ลพบุรี อีกครั้งหนึ่งมาพักผ่อนหย่อนใจอยู่หลายวัน พอหายเหนื่อยดีแล้วก็ใคร่คิดอยากจะได้ชมความงามของดวงแก้วมณีโชตินั้นอีก แม้จประกอบความเพียรสักเท่าไหร่ก็ไม่มีทางที่จะได้ชื่นชมอีกเลย ท่านพระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ ท่านรำพึงอยู่ในใจว่าการไป
รุกขมูลครั้งนี้ทั้งๆ ที่ไปฝึกฝนอบรมจิตของตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม กลับจะมาย่อหย่อนไปหรืออย่างไรนี่ ต่อจากนั้นท่านก็ขออธิษฐานขอทราบเหตุการณ์แห่งความเป็นไปของดวงแก้วมณีโชตินั้น พอนั่งสักครู่ก็ปรากฏนิมิตให้เห็นหมูป่า ๕ ตัว สูงโปร่ง ดวงตาแดงเป็นแสงทับทิม มีเขี้ยวยาวแทบลากดิน จมูกงอนงาม ลำตัวบางเพรียว ขนหนาสีดำสนิท ผิดกับหมูป่าธรรมดายืนอยู่ราวป่า
มุ่งหน้าพากันเดินตรงลงไปในหนองแก้ว พอลงไปถึงกลางหนองก็พากันขุดเอาดวงแก้วมณีโชติ พอเห็นดวงแก้วผู้เป็นหัวหน้าหมูป่าก็เอาปากคาบดวงแก้วนั้นพากันขึ้นมาจากเกาะกลางหนองน้ำ (หนองแก้วนี้ก็คือบริเวณสระแก้วปัจจุบันนี้เอง) แล้วหัวหน้าฝูงหมูป่าก็พาดวงแก้วมณีโชติเดินมุ่งหน้าตรงมาทางทิศตะวันตก พามาถึงเกาะกลางน้ำท้องทุ่งพรหมาสตร์ ซึ่งเป็นเกาะธรรมชาติสูงพ้นน้ำพอสมควร มีตันไม้ปกคลุมทั่วบริเวณเกาะมีน้ำล้อมรอบบนเกาะมีพฤกษานานาชนิด กลัวยไม้ป่าออกดอกส่งกลิ่นหอมอยู่อบอวลทั่วบริเวณเกาะ มีฝูงนกกาอาศัยอยู่เป็นประจำ หมูป่าผู้เป็นหัวหน้าจึงมาหยุดอยู่ที่บนกลางเกาะแล้วหมูป่าอีก ๕ ตัว ก็พากันขุดพื้นดินจนเป็นบ่อลึกพอสมควร
จากนั้นหมูป่าผู้เป็นหัวหน้าก็ค่อยๆ อ้าปากคายดวงแก้วนั้นลงบ่อ แล้วหมูป่าทั้ง ๕ ตัว ก็พากันกลบเกลื่อนรอยขุดให้เรียบร้อยเหมือนอย่างเดิม (เกาะแก้วนี้ปัจจุบันก็คือ วัดเกาะแก้ว หรือวัดมณีชลขัณฑ์) พอหมูป่ากลบดวงแก้วมณีเรียบร้อยแล้ว ในนิมิตก็แลเห็นว่าหมูป่าทั้งห้าตัวนั้นก็กลายรูปร่างจากหมูป่ามาเป็นมนุษย์เทพยดาทั้งห้าองค์และหมูป่าจริงๆ ก็พากันติดตามมาส่งเป็นฝูงใหญ่และมาอาศัยอยู่ที่เกาะแก้วนี้อย่างมากมายโดยไม่มีใครสามารถมารบกวนเพราะมีมนุษย์เทพยดาคอยรักษาอยู่ (จึงมีผู้เฒ่าชาวเมืองลพบุรีบางคนเรียกสถานที่นี้ว่า "โคกหมู")
นิมิตของท่านอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ ก็เห็นมนุษย์เทวดาสี่องค์เฝ้าอารักษ์ขาดวงแก้วมณีนั้นไว้ ส่วนอีกองค์หนึ่งก็มาปรากฎกายอยู่เบื้องหน้าท่านแล้วคุกเข่าพนมมือกัมกราบลงอย่านอบน้อมแล้วค่อยๆนั่งราบลงอย่างสงบเสงี่ยม มนุษย์เทพฯก็กล่าววาจาอย่างสุภาพขึ้นว่า
"ท่านพระอาจารย์แสงขอรับพวกเกล้ากระผมคือเทพฯที่รักษาดวงแก้วมณีดวงนี้อยู่ วันนี้เกล้าฯกระผมว่างไม่ได้เข้าเวรอารักขาดวงแก้วเกล้ากระผมจึงได้มานมัสการพระคุณเจ้าและเกล้าฯอยากเรียนถามธรรมะของพระคุณเจ้าสักหนึ่งข้อ เกล้ากระผมขอเรียนถามว่า พระสงฆ์ทั่วๆไปฉันกะริงกะราวหาร
คืออาหารคำข้าวกับน้ำเท่านั้นหรือ"
พระอาจารย์แสงตอบ "พระทั่วๆไปฉันเท่านั้นไม่พอแก่การเลี้ยง
ร่างกายหรอกมนุษย์เทพฯเอ๋ยพระทั่วๆไปนั้นยังปฏิบัติจิตใจไม่เข้าสู่สภาวะธรรมพระกรรมฐานเราต้องฉันกะริงกะราวหารและลมไฟเข้าไปด้วยถ้ามนุษย์เราอดข้าวสักสามวันก็ไม่ตาย แต่ถ้าอดลมไฟเพียงอึดใจเดียวก็ตายแน่นอกเสียจากพระอริยะที่ละสังขารได้เท่านั้น"
เทพฯยกมือขึ้นพนมแล้วกล่าวสาธุ "เกล้าฯเห็นด้วยและซาบซึ้งใน
พระธรรมคำสอนและธรรมข้อนี้อย่างชัดเจน ไม่มีข้อกังขาใดๆทั้งสิ้น เกล้าจะบอกตำราเรียนทำปรอทไว้ให้กับพระเดชพระคุณขอให้พระเดชพระคุณจงรับเอาไปศึกษาเถิด เมื่อได้ศึกษาสำเร็จแล้วจะขึ้นลงที่สูงๆ เช่นยอดภูเขา หรือหน้าผาอันสูงชัน ก็สามารถจะกระโดดขึ้นและลงมาได้อย่างปลอดภัย ตัวของท่านจะมีความเบามาก แม้จะแบกก้อนหินหรือท่อนเหล็กอันแสนหน้กสักเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกว่าหนักเลย และอีกวิชาหนึ่งก็คือวิชาย่นหนทางถ้าเรียนวิชานี้สำเร็จแล้วจะไปมาไหนก็เพียงอึดใจเดียว"
ท่านพระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ จึงถามว่า "จะให้อาตมาเรียนเอาไปทำอะไรอาตมาไม่อยากได้ เมื่อเรียนสำเร็จแล้วไม่ตายจะอยู่ไปถึงพันปีอย่างนั้นหรือ อยู่มาแค่นี้อาตมาก็ไม่อยากจะอยู่ต่อไปอีกแล้ว ไปบอกกับพระหนุ่มๆ เถิด"
เทพฯตอบ "มิใช่เรียนสำเร็จแล้วจะไม่ตายหรอกขอรับ เมื่อถึงอายุชัยก็ต้องแตกดับลับขันธ์ไปเป็นธรรมดา"
พระอาจารย์แสงถาม "แล้วจะให้อาตมาเรียนไปทำอะไร"
เทพฯอ้อนวอน "ขอให้พระเดชพระคุณเรียนเอาไว้เถิด จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองในด้านการกุศลผลบุญ จะเป็นบุญบารมีไปในภายภาคหน้า จะเป็นบุญกุศลอันใหญ่หลวง จะให้เกล้าฯ เอาตำราหรือวิชานี้ไปบอกให้กับพระ
หนุ่มๆ เกล้าฯยังมองไม่เห็นว่าจะมีพระภิกษุสงฆ์องค์ใดที่จะมีใจสุขุมเยือกเย็นละเอียดอ่อนและมีความบริสุทธิ์เสมอเหมือนพระเดชพระคุณอีกก็ยังไม่มีเกล้าฯ จึงขอมอบตำราย่นหนทางไว้ให้กับพระเดชพระคุณเสียเดี๋ยวนี้เลย เกล้าฯขอให้สัญญาว่าวิชานี้มีแต่คุณอย่างเดียว เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว เกล้าฯ จะมากราบ
เรียนเรื่องดีมีกุศลให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง"
พระอาจารย์แสงจึงได้รับคำ แล้วนำเอาตำราและวิชาย่นหนทางมา
ศึกษาด้วยความพากเพียรพยายาม และอยากรู้ว่ามนุษย์เทพยาดาจะมาบอกการกุศลอะไรให้
อยู่มาอีกหนึ่งพรรษา ทั้งตำราทำปรอทและวิชาย่นทนทางก็เรียนได้อย่างชำนิชำนาญ แต่ก็ไม่ได้ประมาทคอยระมัดระวังดวงจิตทำความรู้เท่าทันอยู่เสมอๆ ค่ำคืนหนึ่งประมาณ ๒ ยาม พระจันทร์ส่องแสงสว่างอยู่เบื้องหน้าขณะกำหนดจิตอยู่นั้น มนุษย์เทพฯ ก็มาปรากฏกายอยู่เบื้องหน้าและมนุษย์เทพฯ ก็บอกว่า เกล้าฯ มาตามสัญญา บัดนี้วิชาของพระเดชพระคุณได้เรียนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว เกล้าฯ ใคร่จะขอฝากการกุศลอันยิ่งใหญ่ในชีวิตแต่ต้องทำการก่อสร้างองค์เดียว เพราะเป็นการยากยิ่งที่จะให้บุคคลอื่นขึ้นไปทำการก่อสร้างด้วยได้ เพราะเหตุว่าดวงแก้วมณีโชติประดิษฐานอยู่เบื้องล่าง ถ้าใครทำสกปรก ดวงแก้วมณีโชติก็จะอันตรธานหายไปทันที ประการที่สองพระ
เจดีย์มีความสูงมาก หากผู้ใดขึ้นไปทำการก่อสร้างก็อาจถูกกระแสลมพัดผงะหงายลงมา เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้นอกเสียจากผู้ที่สำเร็จวิชาปรอทจะไม่มีอันตรายเลย
พระอาจารย์แสงฯ ไม่ยอมรับปากกับเทพฯ "เป็นเรื่องสุดวิสัยของ
อาตุมาที่จะดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์ได้ ด้วยเหตุว่าอาตมาไม่มีปัจจัยที่จะเอามาซื้อวัสดุที่จะเอามาใช้ในการก่อสร้างได้ ประการที่สองอาตมาไมใช่ช่าง
ก่อสร้างมาก่อน จึงไม่รู้ว่าจะไปเอาแบบแปลนมาจากไหน ถ้าอาตมาทำการก่อสร้างพระเจดีย์องค์เดียวชาติหน้าอีกชาติก็คงจะไม่สำเร็จแน่"
มนุษย์เทพฯ ตอบ "เกล้าฯ ขอถวายความเข้าใจในเรื่องการหาปัจจัยมาทำการก่อสร้างพระเจดีย์ก็ไม่น่าหนักใจ ใช้วิชาย่นหนทางเพียงอึดใจเดียวก็ไป
ถึงกรุงเทพฯ ได้ ส่วนเรื่องแบบแปลนการก่อสร้างพระเจดีย์นั้นไม่ต้องไปหาที่ไหนพวกเกล้ากระผมจะเนรมิตแบบแปลนได้เอง
พอพูดจบ เทพฯ ก็เนรมิตภาพพระเจดีย์รูปไม้สิบสองเหลี่ยมให้พระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ดู เมื่อท่านได้พิจารณาอยู่สักครู่ศรัทธาอันแรงกล้าของท่านก็เกิดขึ้นอย่างปาฏิทาริย์ เกิดความปีติอิ่มเอิบเบิกบานใจอย่างบอกไม่ถูก ท่านพระอาจารย์แสงจึงได้รับปากตอบคำกับมนุษย์เทพฯ ทันที เทพฯจึงถวายเสริมศรัทธาขึ้นว่าประโยชน์ที่จะเกิดในวันช้างหน้านี้มีอยู่หลายประการ เพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดาและเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
๒. เพื่อปฏิบัติบูชาองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าและ
ยังเป็นปูชนียสถานของเมืองลพบุรี เพื่อไว้ให้บุตรหลานศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัททั้งหลายที่เคารพนับถือในพระอาจารย์แสงฯ และยังเป็นร่มโพธิสมภาร เป็นที่พึ่งทางใจยังพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไปนานแสนนาน
เทพฯ ทั้งห้าองค์จึงพนมมือขึ้นสาธุการโดยพร้อมเพรียงกัน
เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต) ได้ยินพระอาจารย์แสงฯ เล่าให้ฟังถึงตอนนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตก็อดที่จะยกมือขึ้นสาธุด้วยไม่ได้
ท่านพระอาจารย์แสงฯ จึงเล่าต่อไปให้ข้าฯฟังอีก ข้าฯ ฟังไม่รู้เบื่อ
ต่อมาท่านก็เริ่มใช้วิชาย่นหนทางให้เป็นประโยชน์แก่การหาปัจจัยมาก่อสร้างพระเจดีย์ ท่านจึงเข้ากรุงเทพฯ ไปติดต่อเจ้านายและขุนนางในพระราชวังจนเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันทั่วหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในหนังสือเก่าๆ แทบทุกเล่มมักจะกล่าวถึงท่านพระอาจารย์แสงว่า เป็นผู้วิเศษเรืองกฤตยาคมยิ่งนัก สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเคยทรงพระราชวิจารณ์กันถึงพระอาจารย์องค์นี้ไว้ว่า ขรัวตาแสง คนทั้งปวงนับถือกันว่าเป็นผู้วิเศษสมจริง
ต่อมาการหาปัจจัยไม่มีปัญหา
ใดๆ ทั้งสิ้นเพราะคราใดที่ไปไหนมาไหนก็ตาม จะมีเทพฯ ติดตามไปอารักขาและเป็นทั้งคู่คิดและชี้แนะอยู่ตลอดเวลา ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ว่าจะสับเปลี่ยนเวรกันมาอยู่ดูแลตลอดชีวิต ต่อนั้นมาก็เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์ที่ไม่ต้องมีแบบแปลนและ
ไม้นั่งร้าน วิธีการก่อสร้างพระเจดีย์นี้ก่อรากฐานรอบนอกเว้นช่องประตูไว้ปิด เปิด ทำด้วยไม้เพื่อไม่ให้คนภายนอกมองเห็นการก่อสร้างของพระอาจารย์แสงและทำบันไดพรางตาไว้หน่อยหนึ่ง ที่จริงบันไดนั้นมิได้ใช้ขึ้นลงเลย แล้วประกาศไม่ให้ใครเข้าไปเหยียบย่ำในบริเวณอุโมงค์พระเจดีย์ด้านในเป็นอันขาด ทำประตูไม้แน่นหนาพอตกเย็นก็ปิดประตูใส่กุญแจ เมื่อมีผู้มีศรัทธามาขนอิฐช่วย ท่านก็บอกให้ขนเอาอิฐโยนเข้าไปช้างในจนกว่าจะเต็มอุโมงค์แล้วสั่งให้ปิดประตูเสีย คนภายนอกก็ไม่สามารถจะล่วงรู้ได้ว่าท่านลงมาเอาอิฐขึ้นไปทำการก่อสร้างด้วยวิธีใดก็คงได้แต่นึกเอาเองว่า ท่านคงเดินไต่บันไดขึ้นลง
มาเอาอิฐทีละบุ้งกี๋ ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ในขณะที่ท่านกำลังทำการก่อสร้างอยู่นั้น จะหาความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าสักนิดก็หามิได้ มีเพื่อนคู่คิดมีมิตรคู่ใจเป็นเทพอยู่ในพระเจดีย์ห้าองค์สนุกสนานทำงานกับเทพฯ ถ้าอิฐหมดเทพยดาก็แปลงตัวเป็นหลวงพ่อแสง ไปตามคนมาช่วยขนอิฐให้ เรื่องอาหารการขบฉันก็ไม่เดือดร้อนเพราะใครก็ไม่ล่วงรู้ได้ว่าท่านไปฉันอาหารที่ใดบ้าง เมื่อมีญาติโยมมาหาท่านที่วัดมณี
ชลขัณฑ์ไม่เจอท่าน ญาติโยมก็นึกเอาว่าคงไปฉันข้าวที่วัดชีป่าแล้ว ญาติโยมทางวัดซีป่าเอาอาหารมาถวายท่านที่วัดชีป่าเมื่อไม่พบท่านก็นึกเอาว่า ท่านคง
ไปฉันข้าวที่วัดมณีชลขัณฑ์ หรือโรงเก็บปูนใต้ต้นสะตือข้างพระเจดีย์แล้ว เพราะท่านอยู่ ๒ ที่ คือ ที่วัดชีป่าและที่เจดีย์วัดมณีชลชัณฑ์ การที่ท่านจะไปไหนมาไหนจึงไม่มีใครรู้จริงและท่านก็ไม่มีความประสงค์ให้ใครต่อใครรู้ว่า ท่านเป็นผู้เรืองวิชาหรือบุญฤทธิ์ ที่จริงท่านไปฉันข้าวที่กรุงเทพฯ เป็นประจำ
เขานิมนต์เทศน์โปรดที่บ้านบ้าง เพราะฉะนั้นประวัติของท่านพระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ จึงไม่ปรากฏประวัติในเมืองลพบุรีเลย เพราะท่านไม่ชอบไปคุยให้ใครต่อใครฟัง ถ้าขืนคุยเรื่องจริงให้ญาติโยมที่ลพบุรีฟังพระเจดีย์ของท่านก็คงไม่สำเร็จแน่ ประชาชนคงจะต้องแห่พากันมาดูการก่อสร้างอันประหลาดมหัศจรรย์ของเทพยดาที่สร้างพระเจดีย์กับพระอาจารย์แสงจนหาที่นั่งที่ยืนไม่ได้แน่
วาระสุดท้ายที่ท่านสร้างพระเจดีย์ใกล้จะแล้วเสร็จ ท่านได้ปิดประตูด้านล่างเรียบร้อยแล้ว จึงขึ้นไปตบแต่งยอดพระเจดีย์ทีหลัง เมื่อตบแต่งยอดพระเจดีย์เสร็จเรียบร้อย ท่านก็กระโดดจากยอดพระเจดีย์ลงมาถึงพื้นดินแล้วก็เอามือปัดกันไปมาเดินหายไปโดยมิได้บอกอำลาญาติโยมสักคนเดียว
ปัจจุบันนี้ถ้าเรามองดูรูปพระเจดีย์ จะเห็นท่านเวันอิฐไว้เป็นรูๆเพื่อให้คนรุ่นหลังขึ้นไปบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อยามชำรุดทรุดโทรมในภายหลัง หลวงพ่อ
แสงท่านทำเป็นปริศนาไว้ให้ชาวเมืองลพบุรีคิด ถ้าท่านจะทำยอดเจดีย์เสียให้เสร็จเรียบร้อยค่อยมาปิดอุโมงค์ข้างล่างก็ย่อมทำได้ แต่ท่านไม่ทำเพราะท่านต้องการให้เห็นว่า พระนักปฏิบัติพระกรรมฐานอย่างท่านเมื่อปฏิบัติจริงก็รู้จริง ทำได้จริงอย่างคนทั่วๆ ไป คิดว่าเหลือวิสัยไม่น่าเชื่อ แต่ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมทำได้เสมอ
ปริศนาที่ ๑ เมื่อท่านกระโดดลงมาได้ ท่านจะกระโดดขึ้นไปอีกไม่ได้หรือ
ปริศนาที่ ๒ เมื่อท่านกระโดดลงมาแล้ว ท่านจะจากไปทำไมจึงไม่
กล่าวคำอำลาจากญาติโยมเลยแม้แต่คนเดียว หรือว่าท่านเป็นพระที่ใจดำอำมหิต ตัดเยื่อไม่เหลือใยแก่ญาติโยมชาวเมืองลพบุรี จนมาถึงบัดนี้ใครก็หารู้
ได้ไม่
ตอบปริศนาข้อที่ : เมื่อท่านกระโดดลงมาได้ ท่านก็กระโดดขึ้นไปได้เป็นของธรรมดา
ตอบปริศนาข้อที่ ๒ ถ้าขืนบอกอำลากับญาติโยม ญาติโยมก็ย่อมจะถามถึงเรื่องการก่อสร้างพระเจดีย์และการกระโดดลงมาจากยอดเจดีย์ว่าเป็นอย่างไรจึงไม่มีอันตราย น่าเหลือเชื่อท่านเป็นพระที่มีสัจจะมีความเมตตาปรานีแก่ญาติโยมทั้งหลาย แต่ไม่อาจจะเล่าให้ฟังได้เพราะกลัวญาติโยมจะพากันมานมัสการและขอความช่วยเหลือจนหาความสิ้นสุดไม่ได้ แล้วท่านเองก็จะไปพระนิพพานไม่ได้จึงได้ถืออุเบกขาเสีย การจากไปจึงมิได้บอกอำลาท่านหลบหนีไปปักกลดจำศีลอยู่ที่ดงพญาเย็น วันหนึ่งท่านพระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ ได้ไปเยี่ยมข้าฯ ที่วัดโฆสิตาราม และได้กล่าวชักชวนข้าให้ไปช่วยกันโปรดดวงวิญญาณหลายพันดวงที่ยังมิได้ไปผุดไปเกิด ข้าจึงได้เตรียมตัวบอกงดกิจธุระนิมนต์แก่ญาติ
โยมทั้งหลายเพื่อไปปฏิบัติคันถธุระในพระพุทธศาสนากับพระอาจารย์แสง เมื่อเตรียมเครื่องอัฏฐบริขารในการไปทำธุดงควัตรเรียบร้อยแล้ว อาจารย์แสงจึงได้นิมนต์ช้าฯ เข้าที่นั่งทำวิปัสสนาและท่านก็ได้แนะวิชาย่น
หนทางให้ข้าฯ เพื่อให้ข้าติดตามไปโปรดวิญญาณด้วยกันกับท่าน พอตกดึก พระภิกษุสงฆ์องค์เณรจำวัตรกันหมด พระอาจารย์แสงจึงได้บอกข้าฯ ให้เตรียมตัวเดินทางแบกกลดสะพายย่ามแต่งชุดธุงดงควัตรเดินออกมาใส่กุญแจ
กูฏิเรียบร้อย พระอาจารย์แสงเดินออกมายืนข้างหน้าช้าฯ บอกให้ข้าพนมมือหลับตารำลึกถึงคุณของพระบรมศาสดาพระสมมาสัมพุทธเจ้าแล้วบริกรรมภาวนาวิชาย่นหนทาง ทันใดนั้นเองสรีระร่างกายของพรอาจารย์แสงกับข้าฯก็ลอยขึ้นสู่อากาศ พ้นยอดไม้มุ่งตรงไปทางทิศเหนือในอึดใจเดียวก็ถึงดงพญาเย็นที่ท่านพระอาจารย์แสงปักกลดอยู่ ท่านจึงชี้สถานที่ปักกลดให้ข้าฯ โดยอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
ต่อจากนั้นท่านพระอาจารย์แสงกับข้าฯ ก็ได้นั่งทำจิตแผ่เมตตาให้กับวิญญาณและภูตผีปีศาจที่สิงสถิตอยู่ ณ บริเวณที่แห่งนั้นเป็นเวลาหลายเดือน ดวงวิญญาณทั้งหลายบางพวกก็มาขอให้ช่วยให้ไปผุดไปเกิด บางพวกก็มาขอส่วนบุญจนได้ไปผุดไปเกิดก็มากหลาย ส่วนเรื่องอาหารการขบฉันนั้น พอย่ำ
รุ่งพระอาจารย์แสงได้เข้าไปบิณฑบาตในกรุงเทพฯ กลับมาพอดีได้เวลาฉันตามปกติ
ยามว่างข้าฯ ก็ได้ไปนั่งคุยกับพระอาจารย์แสงที่กลดของท่าน ข้าฯ จึงถามเรื่องต่างๆ ของท่าน ท่านจึงเล่าให้ฟัง ช้าฯ ฟังแล้วเกิดศรัทธาในตัวของท่านมาก ข้าฯ จึงชักชวนให้พระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ เข้าไปจำพรรษา เสียด้วยกัน ท่านจึงตอบว่ากลัวจะเป็นภาระวุ่วายกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ถ้าเจ้านายและขุนนางได้ล่วงรู้ถึงอิทธิปาฏิหาริย์ของพวกเราทั้งสองแล้ว จะพากันมาวุ่นวายขนาดไหน ถ้าเขามาขอความช่วยเหลือจากเรา เราก็
ปฏิเสธไม่ได้ ถ้าช่วยเขาสัมฤทธิผลเขาก็ไปบอกคนอื่นมาอีกความหวังในอนาคตข้างหน้าของเราทั้งสองก็คงจะหมดไป เพราะความวุ่นวายเป็นแน่แท้
ถ้าจะให้อาตมาไปอยู่ด้วยก็ต้องปิดบังเรื่องนี้ไว้ตลอดชีวิต แล้วอาตมาจะไปอยู่ด้วย วิชาที่เราได้ศึกษากันมานี้ความจริงเป็นวิชาโลกียะไม่ใช่ทางสำเร็จมรรค
ผล ถ้าใครมัวหมกมุ่นยึดถือไม่เพิกถอนจะไม่มีวันไปนิพพานได้เลย
เมื่อข้าฯ ตกลงใจรับปากกับพระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ ว่าจะไม่แพร่งพรายความเรื่องนี้ให้แก่ผู้ใดรู้ ตอนนั้นพระอาจารย์ก็ชราภาพลงมาก ข้าฯ จึงได้นิมนต์ท่านมาอยู่เสียด้วยกันที่ วัดระฆังโฆสิตาราม ตำบลบางยี่ขัน
จ.ธนบุรี ถ้าข้าไม่เล่าเรื่องนี้ให้พวกเจ้าฟัง เจ้าคงไม่รู้ว่าพระอาจารย์แสง มหิทธิเมธาจารย์ มีบุญฤทธิ์สามารถสร้างพระเจดีย์องค์เดียวได้โดยไม่มีใครช่วยได้
อย่างไร
ผศ.ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์ ได้บันทึกเรื่องที่ฟังมาจากพระศีลวรคุณ(นวล) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีชลขัณฑ์ ว่า "ที่วัดมณีชลขัณฑ์ นี้นอกจากจะมีเจดีย์หลวงพ่อแสงที่ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัดแล้ว แต่เดิมยังมีศาลาเก่าหลังหนึ่งเป็นที่ประกอบศาสนกิจ และเป็นที่อยู่ของอุบาสกอุบาสิกาเรียกว่าศาลาคอกหมู...นับแต่มีศาลาการเปรียญใหม่ ก็มีได้ใช้ศาลาเก่าอีกเลย...ศาลานี้
สมเด็จพุฒาจารย์โต สร้างถวายหลวงปู่แสง เพราะชื่นชมความรู้ความเชี่ยวชาญทางพุทธศาสนา"
เรื่องวิชาปรอทนี้ อ.บุตย์ สาริกบุตร น้องชายของ อ.เทพย์ สาริกบุตร ก็ได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้อย่างน่าสนใจ กว่าจะทำข้อมูลหลวงปู่แสงได้ ใช้เวลาเยอะเลยครับ
เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบและเข้าใจในจริยวัตรของหลวงปู่แสงให้มากขึ้น มีพระของท่านแล้ว จะได้มีศรัทธาด้วย ปรับคลื่นของตัวเราให้ตรงกับท่าน จะได้พบอิทธิคุณ
อานิสงส์ (ให้บริการรับจัดงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ และรับจัดงานทำบุญ office สำนักงาน) ขอนำเรื่องราวที่ผ่านมาในงานบุญที่ทางอานิสงส์เข้าไปมีส่วนร่วมในงานดังกล่าว.
เรื่องเล่าข้างเจดีย์
เช้านี้ 26 กันยายน 2564 ผมเองติดงานส่วนตัวที่จะต้องไปไหว้ในช่วงเช้า แต่เหมือนเทวดามาโปรด อาจารย์อ๋าท่านแจ้งว่าจะมาช่วยบรรจุช่วงบ่ายโมง แต่พอช่วงเก้าโมงกว่าๆอาจารย์อ๋าท่านโทรมาบอกผมว่า ท่านถึงที่วัดเก่าโบราณแล้ว มาถึงก่อนเวลานัดหมายตั้งสี่ชั่วโมง ผมจึงต้องให้ท่านอาจารย์ช่วยบรรจุล่วงหน้าไปก่อนเลย เพราะถ้ารอผม จริงๆแล้วงานอาจไม่เสร็จตามเวลา ที่ชลบุรีฝนตกตลอดตั้งแต่เช้าไม่ขาดเม็ด กว่าผมจะเสร็จงานส่วนตัวก็ไปถึงวัดบ่าบโมงนิดๆ เจอช่างรับเหมาทำเจดีย์ก็บอกว่า ฝนหยุดให้ได้ทำงาน ซึ่งตอนที่ผมไปถึงวัดฝนก็ไม่ตก แถมมีบางช่วงเวลาที่มีแดดอ่อนๆ ทุกคนช่วยกันบรรจุสิ่งมงคลลงในเจดีย์ทั้งหมด โดยมีท่านอาจารย์อ๋าเป็นผู้กำกับแผนงานเพื่อให้การบรรจุสามารถใส่ลงไปให้ได้มากที่สุด
สุดท้ายก็จะเป็นการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อรหันตธาตุ และพระธาตุต่างๆไว้ในส่วนบนสุด พอวางพระธาตุลงในเจดีย์ ฝนก็เริ่มตกอีกครั้งและตกแรงขึ้นหนาเม็ด ระหว่างที่กำลังรอพระธาตุชุดสุดท้ายจากคุณเกล็ดแก้วและครอบครัวซึ่งได่เดินทางมาจากกรุงเทพ ตามนัดหมายคุณเกดแจ้งว่าจะมาถึงช่วงประมาณก่อนบ่ายสองโมง แต่ด้วยเพราะไม่ชำนาญเส้นทางจึงทำให้ขับรถเลยไปในเส้นทางมอเตอร์เวย์ จึงต้องหาทางที่จะกลับรถเพื่อมายังวัดเก่าโบราณ โดยส่วนตัวสำหรับผมแล้ว เห็นว่าน่าจะเป็นเหตุให้เห็นในอัศจรรย์ เพราะเมื่อรถยนต์ของคุณเกดมาจอดที่หน้าพระเจดีย์สักพัก ซึ่งตัวผมกับคนอื่นๆก็เข้าไปยืนหลบฝนอยู่ใต้ชายคาศาลาก็เดินออกไปต้อนรับ ก็ปรากฎว่า ฝนที่เทอย่างแรงก็ค่อยๆหยุดตกและเหลือเพียงละอองเล็กๆน้อยๆที่เสมือนหนึ่งว่าเทวดาท่านประทานน้ำมนต์ พอจะเริ่มทำการบรรจุพระธาตุชุดสุดท้าย ท้องฟ้าก็มีแสงสว่างฉายลงมาให้ได้เห็น ซึ่งเป็นไปตามภาพที่ลงให้ชมขอให้ทุกท่านเชื่อว่า สิ่งที่เราได้ร่วมกันสร้าง จะส่งผลบุญให้ทุกท่านเปรียบเหมือนเราสร้างธนาคารบุญเอาไว้ เพื่อเป็นหลักประกันของชีวิต
คิดถึงเรื่องจัดงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญบ้าน ทำบุญ office และสำนักงาน คิดถึง อานิสงส์ ติดต่อคุณฝน โทร 083-8090999 ได้เลย
ความสำคัญของพระธาตุดอยตุง
อานิสงส์ (ให้บริการรับจัดงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ และรับจัดงานทำบุญ office สำนักงาน) ขออนุญาติเล่าเกี่ยวกับพระธาตุดอยตุง ให้ทราบกัน เผื่อสมาชิกท่านใดได้ไปในสถานที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญมากสำหรับคนไทย เรื่องราวดังกล่าวถูกบอกกล่าวจากหลวงปู่เดินหน (อริยสงฆ์) ซึ่งเป็นศิษย์ในหลวงปู่โลกเทพอุดรครับ
หลวงปู่เดินหนท่านบอกให้ศิษย์หากมีโอกาสให้ไปกราบพระธาตุดอยตุง
ตำนานเกี่ยวกับพระธาตุดอยตุงปรากฏอยู่ในตำนานพื้นเมืองของล้านนาเป็นความเชื่อปรัมปราของจารีตการสืบทอดประวัติความเป็นมาแห่งดินแดนที่แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมสลายและความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรชุมชนในบริเวณอันกว้างใหญ่ของลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกกและแม่น้ำสายที่เกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของพุทธศาสนาที่แพร่ขยายเข้าสู่ดินแดนบริเวณนี้
ตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาของพระธาตุดอยตุงมีอยู่ว่า ที่บริเวณพระธาตุดอยตุง ประกอบด้วยยอดเขาหลายลูกสลับซับซ้อนกันอยู่ บริเวณนี้เป็นที่อยู่ของอารยชนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า วิรังคะ บ้าง ลัวะ บ้าง พวกนี้มีหัวหน้าชื่อปู่เจ้าลาวจก มีเมียชื่อ ผ่าเจ้าลาวจก สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับอยู่ที่ยอดเขาลูกหนึ่งทรงมะนาวตัดและทำนายว่าในอนาคตจะมีพระอรหันต์นำพระธาตุของพระองค์มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ ซึ่งต่อไปภายหน้าจะเป็นบ้านเป็นเมือง มีกษัตริย์ค้ำชูพุทธศาสนาตราบชั่ว 5,000 พระวัสสา
เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานพระมหากัสสปนำพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้ายและพระธาตุอื่น ๆ มาไว้ พระธาตุได้ชำแรกลึกลงไปในหิน พระมหากัสสปได้ทำตุง คันหนึ่งใหญ่ยาวมาก ว่ากันว่า ร่มเงาของตุงนั้นทาบไปถึงเมืองเชียงแสนซึ่งขณะนั้นมีกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองอยู่แล้ว เป็นวงศ์ของสิงหนวติกุมาร ซึ่งได้อพยพมาจากตอนเหนือมาตั้งบ้านเรือนอยู่ จึงให้ปู่เจ้าลาวจกพร้อมเมียและบริวาร 500 เป็นผู้ดูแลพระธาตุ
หลวงปู่ท่านเคยบอกไว้ว่าพระธาตุดอยตุงเป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในประเทศไทยครับ หากใครมีฌาณสมาบัติลองไปนั่งสมาธิแล้วพิจารณาว่าลึกลงไปทางด้านใต้ของพระธาตุจะมีอีกภพภูมิหนึ่งซึ่งน่ากลัวมาก เรื่องนี้กลุ่มลูกศิษย์ได้เคยนำรูปถ่ายพระธาตุดอยตุงที่ถ่ายเมื่อปี 2485 ไปให้หลวงปู่เสกให้เพื่อให้ศิษย์ได้บูชาไว้ที่บ้านครับซึ่งผมก็ได้รับมา1ภาพครับ
ผมเองอยากจะแนะนำให้เพื่อนๆได้ไปกราบบูชาหากเดินทางผ่านไปหรือหาโอกาสไปน้อมจิตอธิษฐานต่อหน้าพระธาตุสักครั้งหนึ่งในชีวิต ลองไปสัมผัสด้วยตัวเองแล้วจะเข้าใจว่าทำไมหลวงปู่จึงแนะนำให้ไปอธิษฐานที่นี่ครับ
ป.ล. ข้อสังเกตุคือผู้ที่นำพระธาตุมาบรรจุในพระเจดีย์นั้นคือพระมหากัสสปะ
คิดถึงเรื่องจัดงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญบ้าน ทำบุญ office และสำนักงาน คิดถึง อานิสงส์ ติดต่อคุณฝน โทร 083-8090999 ได้เลย
33